หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2559

สุพรรณบุรี นายอนันต์ นาคนิยม นำชาวบางปลาม้า ปลูกแตงโมน้ำหยด สู้วิกฤตภัยแล้ง




           นายอนันต์ นาคนิยม นายอำเภอบางปลาม้า พร้อมทีมข่าว Nation ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าในการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชใช้น้ำน้อยแก้ไขปัญหาวิกฤตภัยแล้งทดแทนการทำนา ที่หมู่ 3 ต.วัดโบสถ์ อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี 










          วันนี้ (25 ม.ค.2559) นายอนันต์ นาคนิยม นายอำเภอบางปลาม้า พร้อมทีมข่าว  Nation ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าในการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชใช้น้ำน้อยแก้ไขปัญหาวิกฤตภัยแล้งทดแทนการทำนา ที่หมู่ 3 ต.วัดโบสถ์ อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี โดยพบว่าชาวนา  บ้านดอนขาด หมู่ที่ 3  ในหมู่บ้านนี้หันมาปลูกแตงโมกันกว่า 200 ไร่ ทดแทนการปลูกข้าวในช่วงฤดูแล้ง








          นับเป็นอีกมิติหนึ่ง ในสภาวะภัยแล้ง น้ำน้อย  ที่ชาวอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี หันมาเลือกปลูกพืช เสริม แทนนาข้าว เพื่อลดการใช้น้ำ ให้น้อยลง ซึ่ง จากการสอบถาม ท่านนายอำเภอบางปลาม้า นายอนันต์ นาคนิยม  ท่านบอกว่า ผมเห็นด้วยนะ เมื่อน้ำมันมีน้อย ถ้าเรายังขืน ยืนกรานที่จะต้อง ทำนา เพียงอย่างเดียว ซึ่งต้องใช้น้ำมาก  ซึ่งชาวบางปลาม้า ทำนากัน ปีละ 2-3 ครั้ง ก็จะลำบาก แต่หาก มีกลุ่มเกษตรกร หันมาทำเกษตรน้ำน้อย อย่าง แตงโม ระบบน้ำหยด ซึ่งเชื่อว่า น่าจะสร้างรายได้ ไม่น้อย ก็น่าจะเป็นทางเลือกใหม่ ในช่วงวิกฤตภัยแล้ง ซึ่งรัฐบาล ก็พยายามสนับสนุน และส่งเสริม ให้เกิดสิ่งนี้ขึ้น








            สำหรับที่อำเภอบางปลาม้า ท่านนายอำเภอบอกว่า  นอกจาก แตงโม ระบบน้ำหยดแล้ว ทางอำเภอเรา ยังมีโครงการ ปลูก เมล่อน แบบน้ำหยด ในช่วงวิกฤตภัยแล้ง อีกด้วย ซึ่งผมคาดว่า หาก ทั้งสองโครงการนี้ ประสบผลสำเร็จ คือ ผลผลิตดี ได้ราคาดี ก็น่าจะเป็นแนวทางให้ ชาวนา ในพื้นที่ ได้หันมาให้ความสนใจ กับ การปลูกพืช ที่ใช้น้ำน้อย ในช่วงวิกฤตภัยแล้งนี้ กันมากขึ้น


       









             สำหรับโครงการตำบลละ 5 ล้านบาท  นายอนันต์ นาคนิยม นายอำเภอบางปลาม้า กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการมาตรฐานส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล (โครงการตำบลละ 5 ล้านบาท) ว่าทุกโครงการที่อำเภอบางปลาม้าเสนอเพื่ออนุมัติ เป็นโครงการที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่  ส่งเสริมการสร้างรายได้และทำให้เกิดการจ้างงาน  มีส่วนในการซ่อมแซมหรือบูรณะทรัพย์สินของหมู่บ้าน พร้อมทั้งพัฒนาชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และที่สำคัญต้องพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนในหมู่บ้านให้ดีขึ้น  กอร์ปกับช่วงภัยแล้งปริมาณน้ำน้อย ส่งผลกระทบกับการประกอบอาชีพของประชาชนอย่างมาก จึงเร่งสร้างการรับรู้และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องกับพี่น้องประชาชน  มีการประชุมเพื่อแจ้งวัตถุประสงค์ของโครงการให้ประชาชนมีส่วนร่วม มีการทำประชาคมให้ประชาชนแสดงความคิดเห็น และสะท้อนถึงปัญหาที่ประชาชนต้องการแก้ไขอย่างแท้จริง 








             ซึ่งแต่ละโครงการมีงบประมาณ 5 ล้าน หากโครงการใดที่เป็นโครงการสำคัญ ต้องเร่งแก้ไข และใช้งบประมาณเกิน 5 ล้านบาท ก็จะมีการพูดคุยทำความเข้าใจกับประชาชน  โดยปรับเกลี่ยและเฉลี่ยให้แต่ละโครงการเกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งอำเภอบางปลาม้า มีทั้งหมด 14 ตำบล ได้รับงบประมาณ ทั้งสิ้น70 ล้านบาท ขณะนี้มีโครงการที่ได้รับการอนุมัติแล้ว จำนวน 197 โครงการ โดยการดำเนินงานแต่ละโครงการต้องเป็นไปตามขั้นตอนและวิธีการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535และระเบียบการเงิน การคลัง และอื่นๆตามข้อกำหนด ซึ่งมีการว่าจ้างดำเนินโครงการแล้ว 13 โครงการ ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างการดำเนินการว่าจ้าง










              ขณะที่ เรื่องของภัยแล้ง ประชาชนส่วนใหญ่มีรายได้หลักจากการทำนา อำเภอบางปลาม้ามีความมุ่งหวังว่าจะสามารถลดต้นทุนการผลิตทั้ง ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง และเครื่องจักร ซึ่งเป็นการลงทุนในราคาที่สูง เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิตและสามารถเพิ่มรายได้ให้ประชาชนในพื้นที่ จึงมีการส่งเสริมให้ประชาชน ปรับเปลี่ยนแนวคิด บริหารจัดการสิ่งต่างๆให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน ยึดแนวทางและหลักปฏิบัติบนความความพอพียง สิ่งสำคัญคือการลดรายจ่ายในครัวเรือน ขณะนี้ในพื้นที่บางปลาม้ามีการเพิ่มปัจจัยการผลิตให้ประชาชนส่งเสริมการปลูกแตงโมและเมล่อนแทนการทำนาปรัง เน้นการใช้ระบบการบริหารจัดการน้ำแบบน้ำหยด โดยเล็งเห็นว่าการหาพืชชนิดใหม่ในการทำการเกษตรซึ่งไม่ต้องใช้พื้นที่ผลิตมาก จะเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยเกษตรกรให้มีรายได้เพียงพอในการดำรงชีพและบรรเทาภัยแล้งได้









    สมพร  จานสิบสี   ปชส.  ภาพ
 เรวัติ น้อยวิจิตร   hub admin rewat.noyvijit@hotmail.com  08-1910-7445

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น