หน้าเว็บ

วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

นายธีรวัชร ภรสัมฤทธิ์ เป็นประธานเปิดกิจกรรม Wednesday เว้นโรค



วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน 2559 นายธีรวัชร ภรสัมฤทธิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบวิจัย รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานเปิดกิจกรรม Wednesday เว้นโรค ณ หน้าอาคาร วช. 2 โดยมีข้าราชการและบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 200 คน
















อนงค์วดี จีระบุตร ประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
เรวัติ  น้อยวิจิตร  นสพ.พลังชน  rewat.noyvijit@hotmail.com  081-9107445

โรงเรียนสุพรรณภูมิ แปรอักษรแสดงความอาลัยและน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ



            นักเรียนโรงเรียนสุพรรณภูมิ กว่า 2 พันคน แปรอักษรแสดงความอาลัยและน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช






              บริเวณสนามหน้าโรงเรียนสุพรรณภูมิ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี  นายจักรพรรดิ  จิตมณี  ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 1   เป็นประธานนำกล่าวสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  พร้อมตั้งสัตย์ปฏิญาณว่า จะตั้งมั่นเจริญตามรอยเบื้องพระยุคลบาทน้อมนำพระบรมราโชวาท ตลอดจนแนวพระราชดำริ และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การทำดีทั้งกาย วาจา ใจ โดยเฉพาะการศึกษา ทรงพระราชทานการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมเป็นพระราชดำริที่ทรงคุณค่าและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งที่ผ่านมาโรงเรียนในสังกัด สพฐ.1 จำนวน 138 โรง ได้จัดพิธีแสดงความอาลัยพร้อมทั้งการจัดนิทรรศการพระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  โดยครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคน น้อมรำลึกและยึดถือแนวพระราชดำรัสและพระราชดำริที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระราชทานมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตและประพฤติปฏิบัติงานเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติสืบไป







               ด้านนายชาญชัย  ดาบสมุทร  ผู้อำนวยการโรงเรียนสุพรรณภูมิกล่าวเพิ่มเติมว่า คณะครู นักเรียน ชั้น ป.1 – ป.6  และผู้ปกครอง ร่วมพิธีแสดงความอาลัยด้วยน้อมสำนึกในพระมหากรุณธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ด้วยการแปรอักษรเป็น เลข ๙ และ ส.พ. รักพ่อหลวง ซึ่งหมายถึงสุพรรณภูมิรัก ในหลวงรัชการที่เก้า ทั้งนี้ โรงเรียนซึ่งประกอบผู้บริหาร ครู นักเรียนและผู้ปกครอง ได้น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการเรียนการสอนและต่อยอดไปถึงครอบครัว ส่งผลให้โรงเรียนได้ผ่านการประเมินหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งต่อจากนี้ไป ในฐานะที่เป็นครู จะปฏิบัติงาน  เพื่อประโยชน์  ของศิษย์ ตลอดจนสร้างความรัก ความสามัคคี พัฒนาการเรียนการสอนให้เด็กมีคุณภาพชีวิตที่ดีและเป็นคนดีของสังคมต่อไป








ศูนย์ข่าวท้องถิ่นออนไลน์ รายงาน
เรวัติ น้อยวิจิตร Hub Admin ศูนย์ข่าวท้องถิ่นออนไลน์ 081-9107445

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง นำผู้บริหาร และบุคลากร วช. ทำบุญ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล




วันที่ 29 พฤศจิกายน 2559 เวลา 07.30 น.ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รองเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธาน นำผู้บริหาร และบุคลากร วช. ทำบุญบำเพ็ญกุศล เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ ห้องประชุมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ชั้น 2 อาคาร วช. 1














อนงค์วดี จีระบุตร ประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
เรวัติ  น้อยวิจิตร  นสพ.พลังชน  rewat.noyvijit@hotmail.com  081-9107445

พลโท วิษณุ ไตรภูมิ เป็นประธานเปิดงาน ปราชญ์ชาวบ้าน ๔ ภาค ประจำปี ๒๕๖๐




            พลโท วิษณุ ไตรภูมิ ผอ.ศปป.๑ กอ.รมน. เป็นประธานเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ  ปราชญ์ชาวบ้าน  ๔ ภาค เพื่อสนับสนุนการขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  ประจำปี ๒๕๖๐  ณ โรงแรมริเวอร์ จ.นครปฐม







            ๒๘  พฤศจิกายน ๒๕๕๙    พลโท วิษณุ ไตรภูมิ  ผู้อำนวยการ ศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ ๑ (ศปป.๑ ) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ( กอ.รมน. )  เป็นประธานเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ปราชญ์ชาวบ้าน ๔ ภาค เพื่อสนับสนุนการขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ประจำปี ๒๕๖๐ ณ โรงแรมริเวอร์ จังหวัดนครปฐม  โดยมีผู้เข้าร่วมการสัมมนา จำนวน ๒๐๐ คน การสัมมนา ครั้งนี้ มีกำหนด ตั้งแต่ วันที่ ๒๘-๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙











อำนวย เดชทองคำ ศูนย์ข่าวท้องถิ่นออนไลน์ รายงาน
เรวัติ น้อยวิจิตร Hub Admin ศูนย์ข่าวท้องถิ่นออนไลน์ 081-9107445

วช.ร่วมกับ 3 หน่วยงานพัฒนาระบบโลจิสติกส์สาธารณสุข



สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ร่วมกับ 3 หน่วยงาน พัฒนาระบบโลจิสติกส์สาธารณสุข หวังสร้างมาตรฐานการบริหารจัดการข้อมูลยาให้เกิดความรวดเร็ว ปลอดภัย และประหยัดงบประมาณ ตอบสนองนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล


วันนี้ (28 พ.ย.59) ดร. วิภารัตน์ ดีอ่อง รองเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ลงนามข้อตกลงความร่วมมือด้านวิชาการและการวิจัยด้านการศึกษาวิจัย เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบโลจิสติกส์โครงสร้างพื้นฐาน และระบบบูรณาการข้อมูลสารสนเทศและแนวทางการริเริ่ม Big Data ด้านสาธารณสุขสำหรับเศรษฐกิจดิจิตอลประเทศไทย ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข มหาวิทยาลัย มหิดล และสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) ณ โรงแรมมารวย การ์เด้น โดยมีศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ร่วมเป็นสักขีพยาน เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยมีการบริหารจัดการยาและเวชภัณฑ์ในลักษณะต่างฝ่ายต่างทำ ขาดการบูรณาการข้อมูลร่วมกัน ทำให้มีต้นทุนที่ค่อนข้างสูง ดังนั้นหากเชื่อมโยงฐานข้อมูลให้เป็นระบบเดียวกันในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ จะช่วยลดค่าใช้จ่ายการบริหารจัดการยาและเวชภัณฑ์ ลดความผิดพลาดจากการจ่ายยา และสามารถตรวจสอบได้ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลทิศทางงานวิจัยของชาติ ได้เห็นความสำคัญเรื่องนี้ จึงสนับสนุนทุนวิจัยโครงการฯ โดยร่วมมือกับ 3 หน่วยงานดังกล่าวพัฒนาระบบโลจิสติกส์สาธารณสุข เพื่อให้ได้งานวิจัยที่ตรงเป้าหมาย มีคุณภาพ เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติ


ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวแสดงความยินดีกับความร่วมมือของ 4 หน่วยงาน พร้อมระบุว่า ข้อมูลคลังยาเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะเป็นประโยชน์กับผู้บริโภค โดยเฉพาะเรื่องความถูกต้องและประหยัด ซึ่งความร่วมมือครั้งนี้คงมิใช่เพียงแค่ความเข้าใจ แต่ต้องนำไปสู่การปฏิบัติและประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง


ด้านศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์อุดม คชินทร อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า มหาวิทยาลัยมหิดลมีความเชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์ และได้รับการสนับสนุนจาก วช. อย่างต่อเนื่อง หากความร่วมมือระหว่าง 4 หน่วยงานครั้งนี้สำเร็จ จะเป็นต้นแบบใช้ทั่วไปในระบบสาธารณสุข ทำให้ระบบบริการมีความโปร่งใสและคล่องตัว


ดร. วิภารัตน์ ดีอ่อง

เช่นเดียวกับเภสัชกรอำนวย พฤกษ์ภาคภูมิ นายกสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) เชื่อว่า ระบบโลจิสติกส์สาธาณสุขจะทำให้การบริหารจัดการยาและเวชภัณฑ์ง่ายขึ้น และมีข้อมูลในการวางแผนด้านยาที่เชื่อมโยงถึงกันได้ สามารถตอบสนองได้ทุกหน่วยงาน หากระบบสมบูรณ์จะช่วยเชื่อมโยงถึงผู้ป่วยกรณีการแพ้ยาประเภทต่าง ๆ ได้ด้วย


ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ผู้ทรงคุณวุฒิ กล่าววว่า ความร่วมมือครั้งนี้แสดงให้เห็นว่างานวิจัยสามารถนำไปใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรม เช่น ช่วยให้ทราบเรื่องคลังเก็บสำรองยา การจ่ายยาให้คนป่วย เป็นต้น ซึ่งเป็นการบูรณาการฐานข้อมูลร่วมกัน การทำงานเช่นนี้ ต้องมีนักวิจัย วิศวกร เภสัชกร และแพทย์ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันจัดทำระบบ และเมื่อสำเร็จก็จะนำประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจยุคดิจิทอล หรือ 4.0 หมายถึงการใช้รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์มาพัฒนาระบบเศรษฐกิจ ช่วยให้ประชาชนกินดีอยู่ดีขึ้น





จำนงค์ ศรัณยพิพัฒน์ เครือข่ายประชาสัมพันธ์ วช.
เรวัติ น้อยวิจิตร Hub Admin ศูนย์ข่าวท้องถิ่นออนไลน์ 081-9107445
............................