หน้าเว็บ

วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556

พระผงสุพรรณวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี

สุพรรณบุรี เมืองยุทธหัตถี วรรณคดีขึ้นชื่อ เลื่องลือพระเครื่อง รุ่งเรืองเกษตรกรรม สูงล้ำประวัติศาสตร์ แหล่งปราชญ์ศิลปิน ภาษาถิ่นชวนฟัง นี้คือคำขวัญจังหวัดสุพรรณบุรี คำว่าเลื่องลือพระเครื่องก็มาจากพระเครื่องพระผงสุพรรณ ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุนี้เอง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเป็นวัดวัดหนึ่งที่ขึ้นชื่อของจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นที่รู้จักกันดีซึ่งถือว่าเป็นวัดใหญ่วัดหนึ่งของจังหวัดสุพรรณบุรี วัดพระศรีรัตนมหาธาตุตั้งอยู่ถนนสมภารคง เส้นทางนพเก้าไหว้พระเก้าวัดของจังหวัดสุพรรณบุรีนับเป็นวัดแรกบนถนนสายสมภารคง หรือชาวบ้านเรียกกว่าวัดพระธาตุ พิหารแดง เส้นทางการเดินทาง แยกจากถนนมาลัยแมนประมาณ 300 เมตร เขตตำบลรั้วใหญ่ ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณบุรี วัดพระศรีรัตนมหาธาตุนับว่าเป็นศูนย์กลางของเมืองสุพรรณภูมิ เป็นวัดคู่บ้าน คู่เมือง มีอายุไม่ต่ำกว่า 600 ปี ปรางค์องค์ประธานเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ แต่ถูกลักลอบขุดค้นหาทรัพย์สินจนทรุดโทรมและมีการซ่อมแซมในเวลาต่อมา กรุในองค์พระปรางค์นี้เป็นต้นกำเนิดพระพิมพ์ผงสุพรรณบุรีที่โด่งดังมาก อันเป็นหนึ่งใน เบญจภาคี 5 พระเครื่องยอดนิยม พระสมเด็จนางพญาของสมเด็จพระพุทธาจารย์(โต) วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร พระผงสุพรรณ จังหวัดสุพรรณ พระสมเด็จนางพญา จังหวัดพิษณุโลก พระทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชร และพระรอด จังหวัดลำพูน เชื่อกันว่าปรางค์น่าจะเป็นศิลปะการก่อสร้างสมัยอู่ทองสุพรรณภูมิ เพราะจากหลักฐานการก่อสร้างองค์ปรางค์เป็นการก่ออิฐไม่ถือปูน ซึ่งเป็นวิธีการเก่าแก่ก่อนสมัยอยุธยา
พระผงสุพรรณนับเป็นพระเครื่องที่พบในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี นับเป็นที่ต้องการครอบครองทั้งเซียนรุ่นเล็ก รุ่นใหญ่ หน้าใหม่ หน้าเก่า และเป็นที่ต้องการเนื่องจากความงดงามเป็นเอกลักษณ์ของชาวจังหวัดสุพรรณบุรี ด้วยความสวดสดงดงามและเป็นพระเครื่ององค์หนึ่งที่ยิ่งมีความเก่าอายุยิ่งมากยิ่งมีความสวยงามพูนทวียิ่งขึ้นเรื่อยๆ และยิ่งนับวันยิ่งหายากเพราะพระผงสุพรรณมีจำนวนจำกัด และยังมีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆตามความต้องการ ส่วนใหญ่แล้วพระผงสุพรรณจะไปอยู่กับคนมีเงินมีทอง และมีอำนาจในปัจจุบันเพราะพระผงสุพรรณเป็นพระที่รู้จักแพร่หลายเป็นอย่างมากเรียกว่าใครไม่รู้จักพระผงสุพรรณไม่มีแล้วในประเทศไทย และนับเป็นพระเครื่องที่โด่งดังที่สุดองค์หนึ่งซึ่งอาจมีเหลืออยู่ในพื้นที่บ้างเนื่องจากพระผงสุพรรณนับเป็นพระเครื่องที่เป็นมรดกตกทอดสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน พระผงสุพรรณเป็นพระเครื่องเนื้อดินเผา จำลองมาจากลักษณะขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าในลักษณะปางมารวิชัย แบ่งตามพิมพ์ได้จำนวน 3 พิมพ์ตามลักษณะที่พบ พระผงสุพรรณพิมพ์หน้ากลาง สังเกตุง่ายๆพระพักตร์อ่อนโยนดูอิ่มเอิบเรียกว่าพิมพ์หน้ากลางแต่ถ้าจะลงลึกถึงรายละเอียดลักษณะทรวดทรงสัณฐานเช่นเดียวกับพระผงสุพรรณพิมพ์หน้าแก่แต่พระพักตร์จะไม่เคร่งขรึมเหี่ยวย่นเหมือนพิมพ์หน้าแก่ดูอิ่มเอิบสดใส คล้ายหน้ามนุษย์ที่ไม่สูงวัยมากและจะมีแม่พิมพ์เพียงพิมพ์เดียว พระพักตร์อิ่มเอิบ ไม่เหี่ยวย่นชราภาพเหมือนพิมพ์หน้าแก่ พระเนตรทั้งสองข้างไม่จมลึกเหมือนพิมพ์หน้าแก่ ปลายพระเนตรด้านซ้ายขององค์พระตวัดเฉียงขึ้นเล็กน้อยสังเกตว่าพระพักตร์พระเนตรทั้งสองข้างวางตำแหน่งเท่ากันไม่เอียงเหมือนพิมพ์หน้าแก่ พระกรรณทั้งสองข้างจะเป็นเส้นเอียงลงตามเค้าพระพักตร์และมีความยาวเกือบเท่ากันทั้งสองข้าง ในองค์พระจะเรียวยาวคล้ายจะงอยที่ปลาย งอเข้าหาด้านในเล็กน้อย ส่วนปลายพระกรรณซ้ายขององค์พระจะแตกเป็นหางแซงแซว พระอุระผายกว้างและสอบเพรียวตรง พระนาภีมองดูคล้ายหัวช้าง พระหัตถ์วางที่ตัก ปลายพระหัตถ์จะยาวเกือบชนลำพระกรขวาขององค์พระ ซึ่งเป็นความแตกต่างของพิมพ์หน้าแก่และหน้าหนุ่ม พระกรขวาเว้าลึกอย่างเห็นได้ชัด มีเนื้อเกินขึ้นจากโคนนิ้วขึ้นด้านบน
พิมพ์หน้าหนุ่ม ชาวบ้านเรียกพิมพ์หน้าหนู พระประทับนั่งปางมารวิชัยฐานชั้นเดียวมีกระจังหน้า พระพักตร์เคร่งขรึม พระนาสิกหนาใหญ่ พระอุระหนา พระกรทอดเรียว เป็นศิลปะช่างอู่ทองซึ่งมีลักษณะเหมือนมนุษย์ พระพักตร์อิ่มเรียวเล็กไม่มีรอยเหี่ยวย่นเรียกพิมพ์หน้าหนุ่ม พระผงสุพรรณหน้าหนุ่ม มีความลึก คมชัด จนถอดออกจากพิมพ์ได้ยากมากเพราะลึกชัดพระพักตร์ดูอ่อนเยาว์สดใส แตกต่างจากพิมพ์หน้าแก่และหน้ากลางอย่างเห็นได้ชัด พระเนตรทั้งสองข้างวางอยู่ในระดับเดียวกัน ปลายพระเนตรด้านซ้ายขององค์เฉียงขึ้นเล็กน้อย พระนาสิกหนาตั้งเป็นสัน ริมพระโอษฐ์หนา พระกรรณแตกต่างจากพิมพ์หน้าแก่และหน้ากลาง พระพักตร์ยางลงมาเกือบถึงอังสะทั้งสองข้าง พระอุระใหญ่หนาเพียวยาวลงมาพระนาภีคล้ายหัวช้างคล้ายกับพิมพ์หน้าแก่และหน้าหน้ากลาง พระหัตถ์ซ้ายวางอยู่บนหน้าตักกลางองค์เหมือนกับพิมพ์หน้าแก่ ปลายพระหัตถ์ไม่จรดพระกรเหมือนพิมพ์หน้ากลาง พระกรขวาจะเว้าลึกมองเห็นได้อย่างชัดเจน พระผงสุพรรณหน้าหนุ่มจะมีความหนามากกว่าพิมพ์อื่นๆมีการตัดตามทรวดทรงของพระตามความอ้อนช้อยสังเกตเห็นชัดเจนเมื่อเทียบกับรุ่นอื่นๆ พิมพ์หน้าแก่ เป็นพระพุทธรูปที่พระพักตร์เหี่ยวย่นเหมือนคนแก่ เรียกพิมพ์หน้าแก่ พระเนตรซ้ายขององค์ยาวรี ลึก ปลายพระเนตรซ้ายตวัดขึ้นสูงกว่าพระเนตรด้านขวา พระนาสิกหนาใหญ่ สองข้างมีร่องลึกลงมารับพระโอษฐ์ซึ่งแย้มเล็กน้อย พระกรรณขวาขององค์จะขมวดคล้ายมวยผม ไรพระศกทอดยาวลงมามากกว่าพระกรรณด้านซ้าย พระกรรณขวามีร่องลึกเหมือนร่องหู พระกรรณด้านบนมีร่องหนาใหญ่โค้งคล้ายใบหูมนุษย์ ด้านในของพระกรรณซ้ายจะมีเม็ดผดคล้ายเมล็ดข้าวสารวางสลับไปสลับมาเรื่อยมาถึงปลายพระกรรณ พระอุใหญ่คล้ายหัวช้าง พระอุระกับพระอังสะด้านซ้ายขององค์เว้าลึกมองเห็นเป็นสามเหลี่ยม ข้อพระกรเว้าลึก พระหัตถ์ซ้ายหนาใหญ่อยู่กึ่งกลางองค์ มีเม็ดผดเรียงขึ้นใต้ราวนมด้านซ้ายขององค์
พระผงสุพรรณตามจารึกลานทองกล่าวไว้ว่า พระฤษีทั้งสี่ตนจึงพร้อมกันนำเอาแด่ว่านทั้งหลาย พระฤษีจึงอัญเชิญเทวดามาช่วยกันทำพิธีเป็นพระพิมพ์ไว้สถานหนึ่งแดง สถานหนึ่งดำให้เอาว่านทำเป็นผงก้อนพิมพ์ด้วยลายมือของมหาเถระปิยะทัสสะสึ ศรีสารีบุตร เป็นใหญ่เป็นประธานที่นั้น ได้เอาแร่ต่างๆมีอนุภาพต่างๆ เสกด้วยมนต์คาถาครบ สามเดือนแล้วเอาไปประดิษฐ์ไว้ในสถูปแห่งหนึ่งที่เมืองพันทูมพระว่านก็ดี พระเกสรก็ดี ทำด้วยแร่สังฆวานร
สำหรับความหมายของจารึกลานทองกล่าวถึงพระผงสุพรรณไว้ด้วยกันสองชนิดคือพระผงสุพรรณเนื้อดินเผาที่มีส่วนผสมจากว่าน และเกสรต่างๆที่มีพุทธคุณเด่นในแต่ละด้าน และผ่านกรรมวิธีการสร้างพระแบบโบราณที่มีความละเอียดอ่อนและแยบยลสีพระผงจึงเป็นเนื้อดำเงางามที่มีข้อความในในจารึกลานทองว่าสถานหนึ่งดำ ส่วนสถานหนึ่งแดงในจารึกลานทองเป็นพระผงสุพรรณที่ทำจากแร่ธาตุ โลหะต่างๆ ซึ่งก็หมายถึงพระผงสุพรรณยอดโถในปัจจุบัน
สำหรับพระผงสุพรรณเนื้อดินนับว่าเป็นพระเครื่องที่มีส่วนผสมมวลสารหลักจากดินที่มีความละเอียด ว่านและเกสรดอกไม้ต่างๆ คนโบราณเรียกว่าพระเกสรสุพรรณ สังเกตว่าเนื้อดินจะมีความละเอียดมากดินที่ใช้สร้างพระผงสุพรรณเป็นดินจังหวัดสุพรรณบุรีโดยแท้มิมีดินจังหวัดอื่นมาเจอปนจึงเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใครการสร้างพระผงสุพรรณเป็นการสร้างที่มีความละเอียดอ่อนและทำแบบโบราณโดยแท้ผสมว่านผงเกสรมงคล 108 มาเป็นวัตถุหลักในการสร้างพระผงสุพรรณรุ่นนี้มีการนำว่านต่างๆมาคั้นเอาเพียงน้ำว่านนำมาผสมเข้ากับมวลสารต่างๆให้เข้ากันจนเป็นเนื้อเดียวกันทั้งหมดก่อนที่จะทำเป็นองค์จึงมีความแน่นของเนื้อองค์พระผงสุพรรณซึ่งชาวบ้านสมัยก่อนนำมาบูชาคล้องคอโดยใช้ลวดถักเมื่อโดนเหงื่อจะมีความเงางามของเนื้อองค์เป็นอย่างมากเนื้อพระผงสุพรรณเงายิ่งขึ้นจนเป็นเงางามและองค์เด่นลอยนูนขึ้นมาชัดเจนจนเป็นที่ต้องการของประชาชน ซึ่งแก่นว่านในเนื้อองค์ส่งผลให้เนื้อพระผงสุพรรณมีความเงางามยิ่งขึ้นเมื่อนำไปคล้องคอ แก่นว่านเมื่อนำไปเผาจึงไม่มีรอยของความร้อนย่อยสลายเหมือนกับกาใส่ว่านที่ไม่ถูกคั้นลงไปที่ถูกความร้อนแล้วย่อยสลายจนเป็นเป็นโพรงกร่อนเป็นโพรงอากาศที่เนื้อองค์ ส่วนการเผาพระผงสุพรรณเป็นการเผาด้วยไฟร้อนสูง และสม่ำเสมอส่งผลให้พระผงสุพรรณไม่แตกหักง่ายเนื้อองค์เงางามสวยตลอดทั้งองค์และยังคงมีสภาพแกร่งแข็งแรงชัดเจนจนถึงทุกวันนี้ถึงแม้นมีอายุเก่าแก่และยิ่งงดงามขึ้นเรื่อยๆตามอายุ สำหรับที่พักในตัวเมืองเพื่อชมความงดงามในตัวเมืองยามค่ำคืน โรงแรม วาสิฏฐี ซิตี้โฮเทล แสงสีสดใส โรงแรมแนวใหม่ใจกลางเมืองสุพรรณบุรี ที่โดดเด่นด้วยการเล่นไฟสีสันสดสวย ทั้งภายในและภายนอกโทร 035-526111, 035-526123 โรงแรมคุ้มสุพรรณสะดวกสบายครบวงจรเต็มทุกรูปแบบ โทร 035-522273-6 โรงแรมสองพันบุรี 135/1 ถนนประชาธิปไตย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี 72000 โทรศัพท์ 0-3552-2555-7, 0-3554-6667-71 โทรสาร 0-3552-2097 และ รีสอร์ทจุรีปันสุข รีสอร์ทสไตล์บ้านสวนในตัวเมืองจังหวัดสุพรรณบุรี 16/2 หมู่ 2 ต.รั้วใหญ่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี 72000 โทร. 035- 526115 ซึ่งอยู่เส้นทางเดียวกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุบรรยากาสแมกไม้ สายน้ำ ธรรมชาติ สงบ เงียบ อาหารขึ้นชื่อดังอำเภอบางปลาม้าเป็นเมนูอาหารคล้ายภัตรคาร เมนูอาหารประเภทปลา ประเภทกุ้งแม่น้ำตัวโตๆสดสะอาดต้อง ร้านกุ่ยหมง ตั้งอยู่ข้างที่ว่าการอำเภอบางปลาม้า โทร. 035-587256 089-5151302 ร้านแม่บ๊วยอยู่ตรงข้ามที่ว่าการ อำเภอบางปลาม้าเปิดบริการ 10.00-18.00 น.โทร.035-586424 035 - 587077 ส่วนร้านน้องแตน ซึ่งอยู่เส้นทางเดียวกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ มีเมนูตามสั่งราคามิตรภาพ อย่างเมนู กวยจั๊บ และอาหารตามสั่งทุกชนิดพร้อมสินค้าชาวบ้านที่วางขายทั้งในและนอกร้านโทร. 035-522680
บ้านนักข่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น