หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2556

ชาวตลาดท่าช้าง ขอเชิญเที่ยวงาน " เทศกาลงิ้ว ตลาดท่าช้าง "

นายมนัส อ่ำทอง นายอำเภอเดิมบางนางบวช พ.ต.อ.เชิดศักดิ์ เฉลียวศิลป์ ผกก.สภ.เดิมบางนางบวช นายยุทธดนัยแจ่มศรี นายกเทศมนตรีตำบลเขาพระ นายประเสริฐ กัณหลินวัฒนา สมาชิดสภาเทศบาลตำบลเขาพระ พร้อมด้วยชาวตลาดท่าช้าง อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขอเชิญเที่ยวงาน " เทศกาลงิ้ว ตลาดท่าช้าง " ระหว่างวันที่ 23-28 มีนาคม 2556 ตลาดท่าช้าง ปลายทางเมืองสุพรรณ ย้อนไปราว 30 กว่าปี ก่อนจะมีถนนเส้น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340 เดิมเรียก ถนนตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี (ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2521) การเดินทางสู่จังหวัดสุพรรณบุรี โดยรถเมล์ประจำทาง มีเส้นทางหลัก ต้นทางที่สายใต้เก่า (สามแยกไฟฉาย ถนนจรัญสนิทวงศ์) ออกถนนเพชรเกษม มานครปฐม-กำแพงแสน-อู่ทอง-สุพรรณ-สามชุก และจะจอดส่งผู้โดยสารปลายทางที่ตลาดท่าช้าง ใช้เวลาเดินทางราว 5-6 ชั่วโมง มีจุดจอดรับผู้โดยสารนานๆอย่างที่ตัวเมืองนครปฐม นานแบบลงมาเดินช็อปปิ้งของกินแถวนั้นได้เลย จำได้ว่าชอบซื้อข้าวหลาม-ไก่ย่าง ที่นครปฐมเป็นประจำ... ป้ายแช่ต่อมาก็ที่ท่า อำเภออู่ทอง ท่านี้ก็จอดนานไม่น้อย สินค้าที่โดดเด่นจะเป็นพวก กบ - เขียดตากแห้งตัวเล็กๆสีดำๆ ที่หนีบด้วยไม้เป็นแถวแบบลูกชิ้นปิ้ง ..เรื่อยๆมาจนถึงตัวเมืองที่สี่แยกแขวง (แขวงการทางจังหวัดสุพรรณ) ท่านี้ก็หลับได้อีกงีบ มาตื่นอีกที่ก็เกือบถึงสามชุก ถึงตรงนี้ก็เหลือผู้โดยสารไม่มากแล้ว (บางทีรถก็จะเลี้ยวข้ามสะพานที่อำเภอศรีประจันต์แล้ววิ้งเลียบแม่น้ำท่าจีนฝั่งตะวันตก ผ่านสามชุก และปลายทางที่ท่าช้าง บ้านใครอยู่ฝั่งตรงข้ามกับที่รถเมล์ผ่าน ก็ต้องนั่งเรือแจวข้ามแม่น้ำกัน ) จากสามชุกอีกไม่ไกลก็ท่าตลาดนางบวช และสุดปลายทางที่ตลาดท่าช้าง ก้าวแรกที่ลงจากรถให้นึกถึงบรรยากาศหนังคาวบอยไทยสมัยก่อนยังไงยังงั้นเลย ตลาดท่าช้าง ตำนานสามเสือสุพรรณ เสือดำ เสือฝ้าย และเสือ มเหศวร นายแบบกิตติมศักดิ์ สท.จู๋ ประเสริฐ กัณหลินวัฒนา ปัจจุบัน บรรยากาศของตลาดท่าช้างก็ไม่ได้แตกต่างจากเมื่อกว่า 30 ปีมากนัก สภาพบ้านเรือนวิถีชีวิตก็ยังคล้ายๆสมัยก่อน การเดินทางโดยรถโดยสารก็สะดวกและรวดเร็วขึ้น เดิมที่เดียว ตัวตลาดท่าช้างเป็นตลาดเก่าแก่ มีอายุกว่า 100 ปี เป็นชุมชนขนาดใหญ่อยู่ตอนเหนือสุดของเมืองสุพรรณ และเป็นตลาดที่ติดริมแม่น้ำท่าจีนอีกแห่งหนึ่ง แต่เมื่อปี พ.ศ. 2501 เกิดไฟใหม้ตลาด ทำให้บ้านเรือนโบราณที่สร้างด้วยไม้ ถูกเผาทำลายไปเสียส่วนใหญ่ คงหลงเหลือเพียงบ้านที่อยู่รอบๆ ห่างออกมาไม่กี่หลัง (อย่างร้านอาหารเล็กเสี่ยวหงส์) แต่ถึงจะโดนเผาทำลายไปแล้ว แต่ตลาดที่สร้างขึ้นมาใหม่ ปัจจุบันอายุก็กว่า 50 ปีแล้ว รวมกับบ้านเก่าที่หลงเหลืออยู่ วิถีชีวิตและอาหารการกิน ก็เป็นเสน่ห์ที่น่าค้นหา สำหรับนักเดินทางที่ชอบบรรยาศของการท่องเที่ยว ที่ไม่ใช่สถานที่ท่องเที่ยว อำเภอเดิมบางนางบวช กับ ตลาดท่าช้าง... ด้วยชื่อหลายคนอาจจะสับสนว่า อำเภอเดิมบางนางบวชอยู่ตรงไหน? ก็คงตอบได้ว่า ตลาดท่าช้าง ก็คือ อำเภอเดิมบางนางบวช ถึงแม้ว่าตัวตลาดจะอยู่ในเขต ตำบลเขาพระ และตัวที่ว่าการอำเภอจะย้ายไปตั้งใหม่คนละฝั่งแม่น้ำริมถนน 340 ในเขต ตำบลเดิมบาง แต่ด้วยขนาดของชุมชน ก็คงต้องถือได้ว่าตลาดท่าช้าง คือ อำเภอเดิมบางนางบวช ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.photo.suphan.biz/thachang.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น