หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2557

กรมน้ำ จัดโครงการ “ คืนคลองให้น้ำไหล คืนน้ำใสให้แม่น้ำทั่วประเทศ

             
 

               ตามที่ กรมทรัพยากรน้ำ  โดย นายจตุพร บุรุษพัฒน์  อธิบดี ฯ  ได้กำหนดดำเนินโครงการ “  คืนคลองให้น้ำไหลคืนความใสให้แม่น้ำทั่วประเทศ ” ในพื้นที่ทั่วประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ บำรุงรักษาคูคลองและแหล่งน้ำธรรมชาติ ในพื้นที่ 77 จังหวัด เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 87 พรรษา5 ธันวามหาราช และสร้างความตระหนักและปลูกจิตสำนึกแก่ประชาชนถึงความสำคัญของทรัพยากรน้ำ




             สำนักงานทรัพยากรน้ำภา 7  โดย  นายวิวัฒน์ โสเจยยะ   ผู้อำนวยการ สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 7  ซึ่งรับผิดชอบ  พื้นที่ ภาคกลาง ตะวันตก  ในเขตลุ่มน้ำท่าจีน  ลุ่มน้ำแม่กลอง ลุ่มน้ำเพชรบุรี และ ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งรับผิดชอบ โดย  ส่วนประสานและบริหารจัดการ ลุ่มน้ำท่าจีน   มี นายอาณัติ นทีทอง เป็นผู้อำนวยการฯ    ส่วนประสานและบริหารจัดการ ลุ่มน้ำแม่กลอง  มี  นางสาวสมพิศ   ประสมทรัพย์ เป็นผู้อำนวยการ  และ  ส่วนประสานและบริหารจัดการ ลุ่มน้ำเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์    นั้น  ในแต่ละเขตรับผิดชอบ จะได้ประสานกับทางพื้นที่   เพื่อจัดกิจกรรม ตาม โครงการ “ คืนคลองให้น้ำไหล คืนน้ำใสให้แม่น้ำทั่วประเทศ ต่อไป




            ลุ่มน้ำท่าจีนตั้งอยู่ทางตอนกลางประเทศไทย และอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา มีพื้นที่ลุ่มน้ำรวมทั้งสิ้น 13,477.16 ตร.กม. พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขต 13 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี ชัยนาท นครปฐม นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง และอุทัยธานี ลักษณะลุ่มน้ำวางตัวตามแนวทิศเหนือ-ใต้ อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 13o 10' เหนือถึงเส้นรุ้งที่ 15o 30' เหนือ และเส้นแวงที่ 98o 15' ตะวันออกถึงเส้นแวงที่ 100o 10 ตะวันออก ทิศเหนือติดกับลุ่มน้ำสะแกกรัง    ทิศใต้ติดกับอ่าวไทย  ทิศตะวันออกติดกับลุ่มน้ำเจ้าพระยา  ทิศตะวันตกติดกับลุ่มน้ำแม่กลอง


             สภาพทั่วไปของลุ่มน้ำท่าจีน เป็นที่ราบลุ่มริมแม่น้ำซึ่งเป็นที่ราบเดียวกันกับที่ราบลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ตอนบนของลุ่มน้ำเป็นที่เชิงเขาแต่มีระดับไม่สูงมากนัก ส่วนตอนกลางและตอนล่างเป็นที่ราบลุ่มติดต่อกับที่ราบลุ่มของลุ่มน้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีนแยกออกมาทางฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ไหลผ่านจังหวัดสุพรรณบุรี นครปฐม และออกสู่อ่าวไทยที่จังหวัดสมุทรสาคร แม่น้ำท่าจีนมีชื่อเรียกต่างๆ กันตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปากแม่น้ำ คือ คลองมะขามเฒ่า แม่น้ำสุพรรณบุรี แม่น้ำนครชัยศรี และแม่น้ำท่าจีน



               แม่น้ำแม่กลองเกิดจากแม่น้ำแควน้อยและแม่น้ำแควใหญ่ไหลมาบรรจบกันเป็นแม่น้ำแม่กลอง โดยแม่น้ำแควน้อยมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาบริเวณตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี ไหลผ่านอ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ อำเภอทองผาภูมิ อำเภอไทรโยค มาบรรจบกับลำภาชี ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาที่ตำบลกลอนโด อำเภอด่านมะขามเตี้ย แล้วจึงไหลมาบรรจบแม่น้ำแควใหญ่ที่ตำบลปากแพรก อำเภอเมืองกาญจนบุรี ส่วนแม่น้ำแควใหญ่มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาตอนบนของอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ไหลผ่านอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ อำเภอศรีสวัสดิ์ เขื่อนท่าทุ่งนา อำเภอเมืองกาญจนบุรี มาบรรจบห้วยตะเพินซึ่งเป็นลำน้ำสาขาที่ ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมืองกาญจนบุรี แล้วจึงไหลมาบรรจบแม่น้ำแควน้อยเป็นแม่น้ำแม่กลอง ผ่านอำเภอท่าม่วงและท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดสมุทรสงครามแล้วจึงไหลออกสู่อ่าวไทย ที่บริเวณอำเภอเมืองสมุทรสงคราม



           การแบ่งลุ่มน้ำสาขาในลุ่มน้ำแม่กลอง ได้กำหนดตามผลการศึกษาของโครงการศึกษาสำรวจออกแบบสถานีอุทกวิทยา 25 ลุ่มน้ำหลักของประเทศไทย ของกรมทรัพยากรน้ำ, 2548 โดยพิจารณาหลักเกณฑ์การแบ่งขอบเขตลุ่มน้ำสาขา การเรียกชื่อลุ่มน้ำ ลำน้ำ และการกำหนดรหัสลุ่มน้ำ โดยยึดถือ “มาตรฐานลุ่มน้ำและลุ่มน้ำสาขา” ของคณะอนุกรรมการศูนย์ข้อมูลสารสนเทศอุทกวิทยา (น้ำผิวดิน) ภายใต้คณะกรรมการอุทกวิทยาแห่งชาติ (ปัจจุบันได้รวมอยู่ในกรมทรัพยากรน้ำ) ซึ่งปรากฏอยู่ในรายงานผลการวิจัย เรื่อง ทะเบียนประวัติ และแผนที่แสดงตำแหน่งสถานีอุทกวิทยาและอุตุนิยมวิทยาในประเทศไทย (กุมภาพันธ์ 2539) เป็นแนวทางในการดำเนินงาน และได้ทำการปรับเพิ่มเติมหลักเกณฑ์บางประการให้ชัดเจนและสมบูรณ์ขึ้น โดยมีการนำข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มาพิจารณาร่วม ได้แก่ แผนที่การแบ่งขอบเขตลุ่มน้ำของหน่วยงานต่างๆในระบบ GIS รายงานการศึกษา แผนที่แสดงขอบเขตพื้นที่ชลประทาน แนวคันกั้นน้ำท่วม และการสำรวจสนามในบางพื้นที่ รวมทั้งได้ใช้แผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1:50,000 ชุดปัจจุบันจากกรมแผนที่ทหารมาใช้ในการกำหนดขอบเขตลุ่มน้ำ แบ่งพื้นที่ลุ่มน้ำแม่กลองออกเป็น 11 ลุ่มน้ำสาขา รายละเอียดแสดงดังตารางที่ 1.1.2 สำหรับขอบเขตลุ่มน้ำสาขาและระบบลุ่มน้ำ ดังแสดงในรูปที่ 1.1.3 และรูปที่ 1.1.4 ตามลำดับ

             ลิขิต  รักอยู่  บรรณาธิการ นสพ.สมุทรสาครนิวส์  09-8841-6393

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น