หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ชาวมุกดาหาร ทูลเกล้าถวาย โครงการฝายชะลอน้ำ แด่.. พ่อหลวง

       


              พันเอกราชันย์ สุนทรเมือง ส่วนงานโครงการพระราชดำริ ฯ ได้นำ  โครงการ  มุกดาหาร สร้างฝายชะลอน้ำ ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท  ของชุดปฏิบัติการสิงห์ดง กองกำลังสุรศักดิ์มนตรี / กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค ๒ ส่วนแยก ๑. และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี   ราษฎร ตำบลบ้านบาก  ป่าไร่  นาสะเม็ง  เหล่าหมี  และ พื้นที่ใกล้เคียง รวมทั้งผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย เขตงาน ๔๔๔   ขึ้นทูลเกล้า เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ในโอกาส วันมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา  ๕ ธันวามหาราช  โดยถวายผ่าน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 




                พันเอก วรรณาชัย แววศรี หัวหน้าชุดปฏิบัติการสิงห์ดง กองกำลังสุรศักดิ์มนตรี / กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค ๒ ส่วนแยก ๑. ร่วมกับ ดร.ศิริกัญญา บุญประเสริฐ  อาจารย์ และ นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี   ราษฎร ตำบลบ้านบาก  ป่าไร่  นาสะเม็ง  เหล่าหมี  และ พื้นที่ใกล้เคียง รวมทั้งผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย เขตงาน ๔๔๔  จัดทำโครงการ ก่อสร้างฝายชะลอน้ำเพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม


       
               โครงการฝายชะลอน้ำ  เป็นโครงการตามแนวพระราชดำริ เกี่ยวกับ วิศวกรรม แบบพื้นบ้าน ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เพื่อกั้นชะลอน้ำในลำธาร หรือทางน้ำเล็กๆ ให้ไหลช้าลง และขังอยู่ในพื้นที่นานพอที่จะพื้นที่รอบๆจะได้ดูดซึมไปใช้ เป็นการฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมให้เกิดความชุ่มชื้นมากพอที่จะพัฒนาการเป็นป่าสมบูรณ์ขึ้นได้

             ฝายชะลอน้ำสร้างขวางทางไหลของน้ำบนลำธารขนาดเล็กไว้ เพื่อชะลอการไหล- ลดความรุนแรงของกระแสน้ำ ลดการชะล้างพังทลายของตลิ่ง - เมื่อน้ำไหลช้าลง ก็มีน้ำอยู่ในลำห้วยนานขึ้น โดยเฉพาะในหน้าแล้ง - ช่วยดักตะกอนที่ไหลมากับน้ำ ลดการตื้นเขินที่ปลายน้ำ ทำให้น้ำใสมีคุณภาพดีขึ้น - ช่วยให้ดินชุ่มชื้น ป่ามีความอุดมสมบูรณ์ เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ - สัตว์ป่า สัตว์น้ำ ได้อาศัยน้ำในการดำรงชีวิต คืนพืชแก่เนินเขา/ภูเขาหัวโล้น - ดินชื้น ป่าก็ชื้น กลายเป็นแนวกันไฟป่า ลดความรุนแรงของไฟได้
       

             สำหรับ โครงการ ก่อสร้างฝายชะลอน้ำเพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม  เขตพื้นที่อำเภอดอนตาล  บริเวณลำน้ำห้วยกอก  ลำห้วยยม  ลำห้วยมะนาว บริเวณภูดานยาว ครั้งนี้ เป็นการกระตุ้นจิตสำนึกที่ดี ถือเป็นหนึ่งกิจกรรม เพื่อส่งเสริมให้ราษฎร และ ผุ้ร่วมพัฒนาชาติไทย เขตงาน ๔๔๔ ได้ทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ และเป็นการช่วยปลูกฝังจิตสำนึกที่ดี รู้จักการเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม อีกทั้งยังเป็นกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ ต่อสังคม และ ประเทศชาติ เป็นการดำเนินตามรอยเบื้องพระยุคลบาท ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 



             โครงการก่อสร้างฝายชะลอน้ำเพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม  ครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจาก หน่วยราชการในพื้นที่ โดย นายสกลสฤษฎ์ บุญประดิษฐ  ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร  ได้มอบหมาย ให้ นายสัญธาน สร้อยสำโรง นายอำเภอดอนตาล  มาสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในโครงการ  นอกจากนี้ ยังได้รับความร่วมมือ จาก อุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว  องค์การบริหารส่วนตำบลป่าไร่  นาสะเม็ง  เหล่าหมี  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านบาก  กองร้อยทหารที่ ๒๑๐๑ กรมทหารพรานที่ ๒๑  กองกำลังสุรศักดิ์มนตรี  และ ราษฎรในพื้นที่ เพื่อสร้างความปรองดองสมานฉันท์ อันจะนำไปสู่การปฏิรูป ( ศปป.)  




             กิจกรรม ก่อสร้างฝายชะลอน้ำ ในครั้งนี้ ไม่มีงบประมาณ  ใช้แรงงานชาวบ้านแบบจิตสาธารณ
รับ บริจาคกระสอบทราย กับปูนซีเมนต์แห้งเร็ว  โดยมีผู้มีจิตศรัทธา ร่วมบริจาค อธิเช่น อาจารย์จากนนทบุรี  เอากระสอบมาช่วย 800  ใบ  โรงน้ำแข็งวารีเทพมุกดาหาร สนับสนุนมาอีก  4000 ใบ พระอาจารย์ปัญญาจาก จังหวัดยโสธร สนับสนุนกระสอบ 1600 ใบ  ฯลฯ




             ฝายที่10 บนสุด ห้วยขวามือ  กว้าง  25  เมตร  สูง  5  เมตร  หนา  5 เมตร  เสริมกระสอบวันที่ 2 ค่ะ  ได้เกือบ  4  เมตร รอการสนับสนุนกระสอบอีก ในวันพรุ่งนี้ ซึ่งท่านผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหารจะมอบหมายให้นายอำเภอดอนตาลมาสับสนุนกระสอบและปูนซีเมนต์แห้งเร็วเพิ่มให้    นักศึกษาจาก  นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.ก็มา  ท่านผู้อำนวยการ สุรเพชร อัฐนาค  ผู้อำนวยการโรงเรียน
บ้านบาก 2  อ.ดอนตาล พาเด็กนักเรียนมาเรียนระบบนิเวศน์ได้เห็ดโคนกลับไปทำอาหารกลางวันด้วย
  นับเป็นอีกกิจกรรมหนึ่ง ที่สร้างสรรค์ประโยชน์ ร่วมกัน ระหว่าง หน่วยงานราชการ  ชาวบ้าน  โรงเรียน รวมทั้งผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย เขตงาน ๔๔๔  ภายใต้การดำเนินการของ  พันเอก วรรณาชัย แววศรี หัวหน้าชุดปฏิบัติการสิงห์ดง กองกำลังสุรศักดิ์มนตรี / กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค ๒ ส่วนแยก ๑. และ ดร.ศิริกัญญา บุญประเสริฐ  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี












               อำนวย  เดชทองคำ  หรือ เสธฯแป๊ะ  นักอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม จากเมืองขุนแผน จ.สุพรรณบุรี พร้อมด้วย  ดร.ศิริกัญญา  บุญประเสริฐ  อาจารย์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี  พันเอกวรรณาชัย แววศรี  หัวหน้าชุดปฏิบัติการสิงห์ดง กองกำลังสุรศักดิ์มนตรี  กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค ๒ ส่วนแยก ๑.   ราษฎร ตำบลบ้านบาก  ป่าไร่  นาสะเม็ง  เหล่าหมี  และ พื้นที่ใกล้เคียง รวมทั้งผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย เขตงาน ๔๔๔   ได้เริ่มโครงการ ก่อสร้างฝายชะลอน้ำเพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม  จำนวน 10 ฝาย เพื่อถวายแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ของพวกเขา




         การสร้างฝาย ชะลอน้ำ ณ ลำห้วยกอก ลำห้วยยม ลำห้วยมะนาว ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว คือการกักเก็บน้ำ เพื่อคืนความอุดมสมบูรณ์ให้ผืนป่า  เมื่อป่ามีน้ำ พืชพันธุ์ธัญญาหาร  ก็อุดมสมบูรณ์  สัตว์ป่ามีน้ำกิน  พืชก็ได้น้ำ ได้ความชุ่มชื้น  เมื่อมีน้ำก็มีปลา  มีสัตว์น้ำ  ชาวบ้านก็ได้มีอาหาร อันอุดมสมบูรณ์


              อำนวย  เดชทองคำ  หรือ เสธฯแป๊ะ เล่าว่า .. ชาวบ้านที่นี่ เคร่งครัดต่อระเบียบวินัยมาก  มีพ่อใหญ่ซึ่งเดิม เป็นผู้นำ กลุ่มผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย เขตงาน ๔๔๔   เป็นแกนนำ ที่นำชาวบ้านมาช่วยสร้างฝาก  ทุกคนจะห่อข้าวมาจากบ้าน โรงครัวมีหน้าที่หาผัก มาต้มแกง ไว้เป็นกับข้าว กินกันเมื่อถึงเวลาอาหาร  พ่อใหญ่บอกที่นี่ ต้องไม่มีอาวุธ  ไม่มีของมึนเมา ชาวบ้านส่วนใหญ่ ดื่มกาแฟ กันมาก ทำงานเหนื่อก็มาพักดื่มกาแฟกัน ผู้ชายก็จะสูบยาเส้น เหมือนกับพ่อใหญ่ 


              ดร.ศิริกัญญา  บุญประเสริฐ   อาจารย์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี  บอกกับเราว่า ฝายชะลอน้ำแห่งนี้ พวกเราสร้างขึ้น เพื่อถวายพ่อหลวง  ในโอกาสมหามงคล 5 ธันวาคม 2557 ที่จะถึงนี้  โดยชาวบ้านต่างเต็มใจที่จะร่วมแรง  ร่วมใจกัน โดยเรากำหนดแผนงานคร่าวๆ ไว้ที่ฝายละ 9 วัน  10 ฝายก็ 90 วัน  ใช้กระสอบทรายโดยเฉลี่ย ฝายละ 5,000 ใบ 10 ฝาย ก็ต้องหาให้ได้ 50,000  ใบ โดยเราก็ได้รับการสนับสนุน จากผู้มีใจรักธรรมชาติ  รักในหลวง ร่วมบริจาคมาให้จนครบ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย หรือ งบประมาณมาสนับสนุน


                  ชาวบ้านที่นี่ เข้มแข็งมาก  ร่วมไม้ร่วมมือกัน  สามัคคีกัน  ไม่เคยอารมย์เสียใส่กัน ต่างยิ้มแย้มแจ่มใส  ใครมีหน้าที่อะไร ก็ทำหน้าที่ของคน  ฝ่ายโรงครัวก็หาของมาทำกับข้าว  พวกผู้ชายก็ทำงานที่หนักหน่อย  ผู้หญิง คนสูงอายุ ก็ช่วยต่อแถวขนหินมาถมฝาย  เราเดินในป่ากันวันละ 5-6 กิโลเมตร  ทุกคนต่างรู้หน้าที่  และ เชื่อฟังผู้นำ  พ่อใหญ่บอกเดี๋ยวค่อยเลิก ทำตรงนี้ให้เสร็จก่อน ทุกคนก็จะช่วยกันทำจนเสร็จ ถึงจะกลับบ้าน


             เสธฯ แป๊ะ กางแขนให้เราดูว่า  ต้องกว้างกว่านี้อีก เท่านี้ยังไม่พอ เพราะเมื่อสูงมากขึ้น ผิวด้านบนของฝายจะเล็กลง  ซึ่งก็เห็นพ้องกัน  ไม่เคยขัดแย้งกัน ว่าอะไรว่าตามกัน ตามโมเดล ที่กำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว







             น้ำเต็ม ฝาย ต่อ ฝาย นั่นหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ที่จะกลับคืนมา ยังผืนป่าแห่งนี้ คณะผู้สร้างฝาย กำลังเตรียมการ ทำบุญฝาย  ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ซึ่งขณะนี้กำลังเตรียมการจัดทำป้ายทางเข้าฝาย เพื่อต้อนรับคณะผู้ใหญ่ของทางจังหวัด ที่จะมาร่วมทำบุญในครั้งนี้   พ.อ.ยุทธนา ม่วงพูลสวาสดิ์ รอง ผอ.กอ.รมน.มุกดาหาร ก็เป็นอีกท่านหนึ่ง ที่จะมาร่วมงานด้วย




            อุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว   หากดูตามแผนที่ จะเห็นว่าเป็นพื้นที่ ศูนย์กลาง ที่มีอาณาเขตเชื่อมต่อ 4  จังหวัด  ได้แก่  อ.เมือง จังหวัดอำนาจเจริญ  อ.เมือง จังหวัดมุกดาหาร อ.เขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี  และ  อ.เมือง จังหวัดยโสธร  เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย เขตงาน ๔๔๔  ซึ่งเป็นกำลังสำคัญ ในโครงการก่อสร้างฝายชะลอน้ำ เพื่อถวายพ่อหลวงในครั้งนี้













            เสธฯ แป๊ะ เล่าว่า งานครั้งนี้ ได้รายงานให้ พันเอกราชันย์ สุนทรเมือง   ซึ่งดูแลในส่วนงานโครงการพระราชดำริ ให้รับทราบข้อมูล ในเบื้องต้นว่า ชาวบ้าน ร่วมมือกันอย่างสามัคคี เพื่อสร้างฝากชะลอน้ำ ตามโครงการพระราชดำริ ถวายในหลวง     ท่านราชันย์ ดีใจมาก



                 พันเอก วรรณาชัย แววศรี หัวหน้าชุดปฏิบัติการสิงห์ดง กองกำลังสุรศักดิ์มนตรี / กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค ๒ ส่วนแยก ๑  บอกว่า " รัก ไมตรี สามัคคี ผูกพัน และพึ่งพา "  จากการทำงานของผมก็ผ่านมาหลายงาน แต่งานท่ี่ผมประทับใจมากท่ีสุดในชีวิตของผม ก็คือการท่ีได้เข้าไปร่วมงานกับกลุ่ม ผรท.ต้องบอกว่าเขาเหล่านี้มีวินัยในตนเอง ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทำงานไม่เห็นแก่ความเหน็จเหนื่อย เสียสละ เพื่อประโยชน์ส่วนรวมอย่างแท้จริง หากใครได้สัมผัสแก่นแท้ของเขา จะทราบทันทีว่า เขายังรักพ่อหลวง แม่หลวง และหวงแหนแผ่นดินเกิด ตามท่ี่ผมได้กล่าวไว้ข้างต้น













































                ชาวบ้านวันละหลายร้อยคน ต่างไม่ย่อท้อ ต่อความเหน็จเหนื่อ  ความยากลำบาก เพื่อความสำเร็จ ร่วมกัน ของโครงการสร้างฝายชะลอน้ำ ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท ถวายพ่อหลวง ของพวกเขา เวลา 90 วัน ใกล้เข้ามาทุกขณะ ฝายที่ 1 -2 -3 ... จนถึงฝายที่ 10 ฝายสุดท้าย ที่จะเป็นความภาคภูมิใจของ ชาวมุกดาหาร และ คนไทยทุกคน

























                  โครงการสร้างฝายชะลอน้ำ  ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท  เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 5  ธันวาคม 2557  โดย พันเอก วรรณาชัย แววศรี หัวหน้าชุดปฏิบัติการสิงห์ดง กองกำลังสุรศักดิ์มนตรี / กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค ๒ ส่วนแยก ๑. ร่วมกับ ดร.ศิริกัญญา บุญประเสริฐ   นายอำนวย  เดชทองคำ อาจารย์ และ นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี   ราษฎร ตำบลบ้านบาก  ป่าไร่  นาสะเม็ง  เหล่าหมี  และ พื้นที่ใกล้เคียง รวมทั้งผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย เขตงาน ๔๔๔   ได้สำเร็จลุล่วงลงด้วยดี  จำนวน 10 ฝาย ในเขตพื้นที่   ลำห้วยกอก ลำห้วยยม ลำห้วยมะนาว  อุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว  อ.ดอนตาล จ.มุกดาหาร


             ชาวบ้านบาก   ชาวบ้านป่าไร่ ชาวบ้านนาสะเม็ง ชาวบ้านเหล่าหมี และ พื้นที่ใกล้เคียง ของ อ.ดอนตาล จ.มุกดาหาร  ซึ่งมี ประชากร กว่า 7000 ครัวเรือน กว่า 34,000 คน จะได้ใช้ประโยชน์  จากความอุดมสมบูรณ์ ของพื้นที่ อันเนื่องมาจาก การมีฝายชะลอน้ำ ตามแนวพระราชดำริ เกิดขึ้นในครั้งนี้ ขอขอบพระคุณ พันเอก วรรณาชัย แววศรี หัวหน้าชุดปฏิบัติการสิงห์ดง กองกำลังสุรศักดิ์มนตรี / กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค ๒ ส่วนแยก ๑  ดร.ศิริกัญญา บุญประเสริฐ   นายอำนวย  เดชทองคำ อาจารย์ และ นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี   ราษฎร ตำบลบ้านบาก  ป่าไร่  นาสะเม็ง  เหล่าหมี  และ พื้นที่ใกล้เคียง  และที่สำคัญ คือกลุ่มผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย เขตงาน ๔๔๔   ที่ได้ร่วมแรง ร่วมใจ เพื่อสร้างฝายชะลอน้ำ ถวายเป็นพระราชกุศล แด่ " พ่อหลวง " ในวันมหามงคล 5 ธันวามหาราชนี้



              เรวัติ  น้อยวิจิตร  สุพรรณบุรีนิวส์  rewat.noyvijit@hotmail.com  081-9107445

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น