หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบไม่หยุดนิ่งสุพรรณบุรี

กว่าจะถึงวันนี้กับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบไม่หยุดนิ่งสุพรรณบุรี ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดสุพรรณบุรี (พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง) ตั้งอยู่ที่ตำบลพลับพลาไชย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี สร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์หลัก คือเป็นแหล่งรวบรวมพันธ์ไม้ต่างๆที่มีคุณภาพดี เป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ แหล่งเรียนรู้ และส่งเสริมให้เกษตรกรผู้สนใจเข้าอบรม และสามารถประกอบอาชีพทำได้จริงเพื่อเลี้ยงชีพเลี้ยงครอบครัว และยังเป็นศูนย์กลางการตลาดให้กับเกษตรกรผู้ผลิตส่งตรงถึงผู้บริโภค และสิ่งที่สร้างชื่อเสียงให้ติดตลาดจนเป็นที่รู้จักคือเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในจังหวัดสุพรรณบุรี และเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้การท่องเที่ยวเชิงเกษตรและได้ผลดีเป็นอย่างมากเพราะมีนักท่องเที่ยวและเกษตรกรหลั่งไหลเข้ามาเป็นจำนวนมากอย่างต่อเนื่องทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างเช่นทุกวนนี้เพราะการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกษตรกรได้รับประโยชนือย่างสูงสุด
นางสาววาสนา ใจกล้า นักวิชาการหัวหน้าฝ่ายยุทธศาสตร์และการท่องเที่ยวเปิดเผยว่าสำหรับศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดสุพรรณบุรี (พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง) เริ่มต้นเปิดเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2545 บนพื้นที่กว่า 380 ไร่ ที่เป็นที่ดินที่แทบไม่สามารถปลูกอะไรได้เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหิน และถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ปลูกต้นไม้ได้ดีโดยการพัฒนาวิจัยและปรับปรุงดินโดยใช้วิธีต่างๆจนกระทั่งใช้ปอเทืองเพื่อปรับดินให้มีคุณภาพดีขึ้นเนื่องจากศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดสุพรรณบุรี (พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง) เป็นที่รู้จักน้อยไม่แพร่หลาย จึงมีความคิดที่จะให้ประชาชนรู้จักศูนย์ฯมากขึ้นจึงเสนอเรื่องของการจัดบริหารใหม่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรขึ้นโดยเสนอเรื่องนี้ให้นายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทยทราบและเข้าใจว่าจะมีการนำดอกไม้เข้ามาดึงดูดประชาชนนักท่องเที่ยวและเกษตรกรเพราะคนส่วนใหญ่ชอบดอกไม้ และส่วนตัวเองก็ชอบดอกไม้เช่นกัน และตนเองอยากทำมานานและมองว่าสุพรรณบุรีเองไม่มีแหล่งท่องเที่ยวที่มีดอกไม้ธรรมชาติอย่างยั่งยืนเลยทั้งๆที่แหล่งไม้ดอกไม้ประดับทั้งหลายมีศูนย์รวมอยู่ที่จังหวัดสุพรรณบุรี ที่ศูนย์ฯเราทำได้อยู่แล้วเพราะเรามีเทคโนโลยี มีนักวิชาการ พร้อม ที่ดินพร้อม เรามีความรู้อยู่แล้วจนล้น และเราเองก็พร้อมที่จะถ่ายทอดให้ประชาชนมาดูงานของเราอยู่แล้ว ซึ่งประชาชนที่มาก็ต้องอยากรู้อย่างอื่นด้วยประกอบกันถ้าเป็นได้ทำได้อย่างนี้เราเองก็ประสบผลสำเร็จประชาชนที่เข้ามาก็ได้ความรู้ในครั้งเดียวเลย ถ้ามาที่นี้จุดเดียว จึงเริ่มดำเนินการจริงจังเมื่อปี 2552 แต่ช่วงปี 2549 ก็ทำแล้วปลูกทานตะวันแล้วแต่ไม่สมบูรณ์มากนักเพราะมีทานตะวันเพียงอย่างเดียวจึงไม่สามารถดึงดูดคนมาได้เท่าที่ควร และปี 2552 ที่เริ่มทำเต็มตัวก็มาวางผังให้มีเทศกาลท่องเที่ยวตลอดทั้งปี จนกระทั่งปีนี้เป็นปีที่ 5 สำหรับทุ่งดอกกระเจียวสื่อรักวันแม่ สำหรับทุ่งดอกกระเจียวสื่อรักวันแม่ มีการแบ่งพื้นที่ปลูกอยู่บนพื้นที่ 20 ไร่ แบ่งออกเป็นกระเจียวหลากหลายสายพันธ์และส่วนใหญ่เป็นพันธ์ที่ส่งออกนอก จึงมีดอกที่สวยสดงดงามกว่าดอกกระเจียวป่าตามแหล่งท่องเที่ยวอื่นสำหรับกระเจียวทั้งหมดในพื้นที่มี 23 ชนิด มีเฉดสีมากมายอาทิเช่น สีขาว สีเขียว สีชมพู สีออกแดง มีทั้งกระเจียว มีทั้งปทุมมาและหงส์เหิน มี 3 กลุ่มด้วยกันแต่เป็นพืชกลุ่มหัวเหมือนกันแต่กลุ่มเดียวกับขิง ระยะเวลาการออกดอกประมาณ 2 เดือนตั้งแต่ปลูกและจะออกดอกแรกเราก็จะถอดดอกทิ้งและจะแตกกอและดอกก็จะมีจำนวนเยอะขึ้น 1 ต้นต่อ 1 ดอกเรามีการลงหัวถาวรในดินในทุกๆปีหัวกระเจียวก็จะเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อยๆ 1 หัวจะแตกหัวออกไปได้ 10- 20 หัวเลยทีเดียวปีนี้เราลงหัวไปแล้วกว่าสามแสนหัวทุกปีหัวกระเจียวก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามความสมบูรณ์ของต้นเราจะใช้หลักการธรรมชาติคือมีช่วงที่เขาพักตัวก็จะอยู่ในดินซึ่งจะเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน กรกฎาคม กันยายน ซึ่งส่วนใหญ่คนก็จะรู้และมาดูกันหลายครั้งเพราะมีการปรับปรุงทางเดิน สถานที่จอดรถให้มีความเหมาะสม พร้อมจัดอาหารและจุดนั่งพักให้เพียงพอ พร้อมรถบริการรับส่งนักท่องเที่ยว จุดจอดรถ ถังขยะเพิ่มขึ้นเพื่อให้เพียงพอกับนักท่องเที่ยว ซึ่งคาดว่าในวันแม่จะมีนักท่องเที่ยวแห่เดินทางเข้าชมนับแสนคนในปีนี้ เพราะทุกอย่างสมบูรณ์ที่สุด คนแก่ เด็กมาได้หมดสถานที่รองรับพร้อมและจำหน่ายไม้ดอกไม้ประดับแก่ผู้สนใจโดยนำต้นไม้ต่างๆมาจากกลุ่มเกษตรกรเพื่อเป็นตลาดให้กับผู้ผลิตซึ่งจำหน่ายในราคาถูกกว่าท้องตลาด และในอนาคตประมาณต้นเดือนมีนาคม อาทิตย์แรกของเดือนมีนาคม เตรียมเปิดงานเทศกาลกินปลาแดกใต้ต้นสากุระเมืองไทย(ชมพูพันธ์ทิพย์)ซึ่งขณะนี้ดำเนินการปลูกไว้แล้วจำนวนกว่า 500 ต้น ซึ่งจะจัดขึ้นบริเวณเดียวกับทุ่งกระเจียวบนพื้นที่ 20 ไร่ วางแผนไว้ว่าจะมีการนำร้านส้มตำมาร่วมในงานกว่า 50 ร้าน ทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่มีการจัดประกวดตำส้มตำครั้งใหญ่ใต้ต้นสากุระเมืองไทย(ชมพูพันธ์ทิพย์) ซึ่งในประเทศญี่ปุ่นใช้ชื่อกินปลาดิบใต้ต้นสากุระแต่เราปรับชื่อใหม่ให้เหมาะกับประเทศไทยของเรา ประชาชนสามารถมาถ่ายรูปและนั่งสัมผัสต้นซากุระเมืองไทยแบบสนิมสนม และเตรียมเปิดเทศกาลดูดอกบัวบนพื้นที่กว่า 10 ไร่ ในเดือนเมษายนวันแห่งครอบครัววันที่ 14 เมษายน ในช่วงสงกรานต์ซึ่งปลูกบัวเป็นบัวรูปสีธงชาติทั้ง บึงบัวกลางวัน และบึงบัวกลางคืน ซึ่งอยู่ระหว่างปรับภูมิทัศน์ให้มีความเหมาะสมแก่การท่องเที่ยว ดอกบัวพร้อมแต่ปัญหายังอยู่ที่สถานที่รอบๆยังไม่เหมาะแก่การท่องเที่ยวมากนักเท่านั้น ความพิเศษของสระบัวคือเป็นการปลูกในบึงบัวสลับเป็นรูปธงชาติไทยสลับสีขาวน้ำเงิน ส่วนสระบัวอีกสระหนึ่งจะเป็นบัวสายและบัวกระด้งซึ่งเป็นบัวที่จะออกดอกในช่วงพระอาทิตย์ตกดินและจะบานจนกระทั่งสิบโมงเช้าส่วนในสระธงชาติจะบานทั้งวัน นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในช่วงเย็นก็จะสามารถสัมผัสดอกบัวทั้งกลางวันและกลางคืนในเวลาเดียวกัน ในอนาคตอาจเปิดในช่วงกลางคืนด้วยแต่ขณะนี้ยังไม่เปิดช่วงกลางคืนเนื่องจากอยู่ระหว่างดำเนินการสำหรับขณะนี้มีเทศกาลจำนวน 5 เทศกาล คือวันที่ 1 -9 มกราคม มหัศจรรย์ทิวลิปบานสุพรรณบุรี 1-15 กุมภาพันธ์ กุมภาสัญญารัก 1-31 สิงหาคม ทุ่งดอกกระเจียวสื่อรักวันแม่1-15 ธันวาคม ทุ่งทานตะวัน วันพ่อ16-31 ธันวาคม เทศกาลดอกไม้เมืองหนาว สำหรับการดำเนินการที่ศูนย์ฯต้องมีการเรียนรู้และรู้จักนิสัยต้นไม้แต่ละต้นก่อนที่จะนำลงแปลงปลูกเพื่อสามารถรู้ล่วงหน้าได้ว่าต้นไม้ต้นไหนจะออกดอกเมื่อใดจะให้ต้นไม้ชนิดไหนออกดอกก่อนออกดอกที่หลังหรือหยุดเขาไว้ให้ออกพร้อมๆกันทีเดียวที่นี้เป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ชั้นดีสำหรับเกษตรกรที่สนใจต้องการเรียนรู้จริงๆเพราะไม่ได้มีเพียงไม้ดอกแต่มีไม้ผลอีกหลายชนิดที่ต้องมาศึกษาเรียนรู้ที่นี้แล้วสามารถกลับไปประกอบอาชีพได้และผลผลิตก็สามารถกลับมาส่งให้ที่ศูนย์เป็นจุดกระจายสินค้าบริหารจัดการได้อย่างลงตัว นางสาววาสนากล่าว
บ้านนักข่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น