หน้าเว็บ

วันพุธที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ทันตแพทย์อนุศักดิ์ คงมาลัย เปิดตัว แอพพิเคชั่น NBHThai เครือข่ายจักรยานสร้างสุข




                จังหวัดสุพรรณบุรี  เครือข่ายจักรยานสร้างสุข แห่งประเทศไทย เปิด แอพพิเคชั่น NBHThai สุขกาย สุขใจ สุขปลอดภัย สุขสร้างสรรค์  รองรับสุขนวตกรรม  เพิ่มจำนวนนักปั่นทั่วประเทศ  ที่ ห้องประชุมเณรแก้ว  โรงพยาบาลศุภมิตร อำเภอเมืองสุพรรณบุรี  จังหวัดสุพรรณบุรี คณะกรรมการโครงการพัฒนาเครือข่ายจักรยานสร้างสุข(HBNT) ร่วมประชุมเปิดตัวฐานข้อมูลและคู่มือปฏิบัติ ด้วยแอพพิเคชั่น สุขกาย สุขใจ สุขปลอดภัย สุขสร้างสรรค์  รองรับสุขนวตกรรม เพื่อออกแบบและพัฒนาเครื่องมือ สำหรับจัดทำคู่มือแผนที่จักรยานและคู่มือApp/FB  ตลอดจนการจัดเก็บข้อมูลโดยสื่อบุคคล เพื่อเพิ่มจำนวนนักปั่นทั่วประเทศ พร้อมกิจกรรมสร้างสุข สารพัดสุข เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจสนับสนุนให้เกิดจักรยานสร้างสุข โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมตัวจัดกิจกรรมจักรยานอย่างต่อเนื่อง อาทิ การสอนซ่อมและการซ่อมจักรยานเบื้องต้น โดยร้านรักล้อ  การบริจาคจักรยาน เก่าใหม่ ธนาคารจักรยาน จักรยานเพื่อน้อง พร้อมทั้งสามารถแนะนำเส้นทางจักรยานสร้างสุขครอบคลุมทั้งระดับจังหวัด ภูมิภาคและประเทศ











                 ทันตแพทย์อนุศักดิ์  คงมาลัย ประธานเครือข่ายจักรยานสร้างสุข ประเทศไทย กล่าวในฐานะ ประธานคณะกรรมการโครงการพัฒนาเครือข่ายจักรยานสร้างสุข ว่า การขับเคลื่อนจักรยานสร้างสุข  ได้รับการสนับสนุนจาก กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพหรือ สสส. ทั้งนี้ จากกระแสความตื่นตัวของประชาชนที่มีต่อการใช้จักรยาน เพิ่มมากขึ้น จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะใช้จักรยานเป็นเครื่องในการส่งเสริมให้ประชาชนเกิดสุขภาวะในด้านต่างๆ โดยผ่านสื่อออนไลน์  ดังนั้น คณะทำงานจึง เปิดตัว App ดังกล่าวขึ้น ซึ่งจะเป็นการอำนวยความสะดวกในเส้นทางการปั่น สถิติการปั่น พร้อมลุ้นรับของรางวัลพิเศษในการร่วมกิจกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์แก่นักปั่นทั่วประเทศแน่นอน ตลอดจนการสร้างพันธมิตรรักล้อ เช่น ร้านกาแฟ ร้านขายขนม ร้านอาหารและที่พักเป็นต้น ทั้งนี้ ที่ผ่านมามีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเครือข่ายจักรยานสร้างสุขประเทศไทย 6 ครั้งประกอบด้วย จังหวัดสุพรรณบุรี /จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ /จังหวัดนครศรีธรรมราช /จังหวัดนครราชสีมา /จังหวัดลำปาง /จังหวัดจันทบุรี และมีวิทยาลัยเทคนิคที่พร้อมเปิดศูนย์รักล้อ 2 สองแห่ง คือ จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และเตรียมเปิดที่ จ.หนองบัวลำพูเร็วๆนี้












เกรียงไกร  ก่อเกียรติตระกูล  บรรณาธิการข่าว        
เรวัติ  น้อยวิจิตร  Hub Admin rewat.noyvijit@hotmail.com  081-9107445

สุพรรณบุรี น.ส.จริยา โพธสุธน สร้างความตระหนักรู้แก่นักเรียนในการป้องกันอัคคีภัย



             เทศบาลตำบลวังน้ำซับ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี  ฝึกอบรมเชิงสาธิตให้ความรู้การดับไฟจากน้ำมันเชื้อเพลิงและจากถังแก๊สหุงต้มในครัวเรือน แก่นักเรียนในพื้นที่




              น.ส.จริยา โพธสุธน นายกเทศมนตรีตำบลวังน้ำซับ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี เปิดเผยว่า สถานการณ์ในปัจจุบัน ภัยพิบัติต่างๆที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งอัคคีภัยได้เกิดขึ้นบ่อยครั้งขึ้น นับวันจะทวีความรุนแรงและซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆสร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นจำนวนมาก โดยสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากประชาชนมักประมาทขาดความระมัดระวังในที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาคารบ้านเรือน สถานที่ราชการ เมื่อเกิดอัคคีภัยขึ้น ยากต่อการที่จะเข้าระงับเหตุด้วยสภาพอาคารและพื้นที่


              การดูแลรักษาความปลอดภัยในสถานศึกษา ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญที่สุดโดยเฉพาะนักเรียน ที่ทุกหน่วยงานของสังคมจะต้องร่วมกันหาแนวทางในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้ได้เรียนรู้ มีทักษะชีวิตที่ดีเพียงพอที่จะดูแลตนเองและผู้อื่นให้มีความปลอดภัยจากภัยพิบัติ โดยเฉพาะอัคคีภัยที่เกิดขึ้นในโรงเรียนโดยเฉียบพลัน ซึ่งไม่ได้คาดคิดมาก่อนอาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือการกระทำของมนุษย์ส่งผลให้เกิดความเสียหายทั้งร่างกายและทรัพย์สินได้กับทุกคน ทุกเวลาและทุกสถานที่ หากไม่มีความรู้และการป้องกันที่ดีพอ จะทำให้เกิดการติดต่อลุกลาม สร้างความสูญเสียให้กับชีวิตและทรัพย์สิน

                ทั้งนี้  เทศบาลตำบลวังน้ำซับ ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญในการป้องกันการเกิดอัคคีภัย จึงได้จัดโครงการฝึกอบรมเชิงสาธิตให้ความรู้การดับไฟจากน้ำมันเชื้อเพลิงและจากถังแก๊สหุงต้มในครัวเรือน ในสถานศึกษาพื้นที่ตำบลวังน้ำซับ เพื่อให้เกิดความรู้ ความตระหนัก ความเข้าใจเกี่ยวกับอัคคีภัยเบื้องต้น ตลอดจนวิธีแก้ปัญหาในขณะเกิดเหตุและหลังเกิดเหตุ รวมทั้งพัฒนาและเสริมสร้าง ประสบการณ์  ให้แก่ผู้เข้ารับการอบรมในการเข้าระงับเหตุและการหนีไฟโดยไม่ตื้นตระหนกต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และเพื่อกระตุ้นให้ผู้เข้ารับการอบรมทุกคนตระหนักถึงผลเสียหายเมื่อเกิดอัคคีภัยและช่วยกันหาแนวทางการป้องกันหากเกิดอัคคีภัยขึ้น





เกรียงไกร  ก่อเกียรติตระกูล  บรรณาธิการข่าว        
เรวัติ  น้อยวิจิตร  Hub Admin rewat.noyvijit@hotmail.com  081-9107445

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจที่มุกดาหาร




               ๓๐ พ.ค. ๖๐ เวลา ๑๓.๔๐ น.นายสรสิทธิ์ ฤทธิ์สรไกร ผวจ.มุกดาหาร  พร้อมนางคำนึงนิตย์ ฤทธิ์สรไกร นายกเหล่ากาชาดจังหวัด ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัด ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ และประชาชนอำเภอดงหลวง เฝ้าฯ รับเสด็จ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร ณ สนามเฮลิคอปเตอร์ชั่วคราว โรงเรียนกกตูมประชาสรรค์ ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง  จังหวัดมุกดาหาร















ำนวย เดชทองคำ   ศูนย์ข่าวท้องถิ่นออนไลน์   รายงาน   
เรวัติ  น้อยวิจิตร  Hub Admin rewat.noyvijit@hotmail.com  081-9107445

วันอังคารที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

สมุทรสาคร อบรมจัดทำดอกไม้จันทน์ตามโครงการจิตอาสาประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์พระราชทาน




             ผู้ว่าฯ สมุทรสาครพบปะเยี่ยมเยือนผู้เข้าร่วมอบรมจัดทำดอกไม้จันทน์ตามโครงการจิตอาสาประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์พระราชทาน จังหวัดสมุทรสาคร






              วันนี้ (29 พฤษภาคม 2560) เวลา 11.30 น.  ที่อาคารนิวนามทอง  สำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดสมุทรสาคร  นายประภัสสร์  มาลากาญจน์  ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร  พบปะเยี่ยมเยือนและให้กำลังใจผู้เข้าร่วมอบรมจัดทำดอกไม้จันทน์ตามโครงการจิตอาสาประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์พระราชทานจังหวัดสมุทรสาคร  เพื่อใช้ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยมีผู้แทนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน และเจ้าหน้าที่จาก อปท.ทุกแห่งของจังหวัดสมุทรสาคร เข้าร่วมอบรมฯ





            นายประภัสสร์  มาลากาญจน์  ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร  เปิดเผยว่า  จังหวัดสมุทรสาครได้จัดโครงการจิตอาสาประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์พระราชทาน  จังหวัดสมุทรสาคร  โดยเลือกประดิษฐ์เป็นดอกดารารัตน์  หรือ ดอก Daffodil เป็นดอกไม้ทรงโปรดของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และพระราชทานให้กับสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ อยู่เสมอ เมื่อครั้งยังทรงศึกษาและประทับอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์  “ดอกดารารัตน์” นิยมใช้มอบให้แก่บุคคลอันเป็นที่รัก เพื่อบอกว่าไม่เคยหวังสิ่งใดตอบแทน และยังหมายถึง เกียรติยศ ความกล้าหาญ สัญลักษณ์ของความสมหวัง ซื่อดอกดารารัตน์ยังมีความหมายที่ลึกซึ้ง โดยคำว่า ดารา หมายถึง ดวงดาว คือสิ่งที่อยู่สูงสุด คำว่า รัตน์ หมายถึง แก้ว คือสิ่งที่มีค่าโดย จังหวัดสมุทรสาครได้เตรียมวัสดุ อุปกรณ์  ที่ใช้ประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์ ไว้ให้เรียบร้อย ซึ่งใช้วัสดุธรรมชาติ เช่น เปลือกข้าวโพด ซึ่งไม่ก่อให้เกิดมลพิษ





               ผู้ว่าฯ จังหวัดสมุทรสาคร  เปิดเผยอีกว่า  จังหวัดสมุทรสาครตั้งเป้าการจัดทำดอกไม้จันทน์ (ดอกดารารัตน์) ไว้ 200,000 ดอก  โดยมีหน่วยงานภาครัฐ/เอกชน ที่สนับสนุนและประสานการจัดทำดอกไม้จันทน์ของประชาชนจิตอาสา ประกอบด้วย เทศบาลนครสมุทรสาคร  จำนวน 60,000 ดอก อำเภอกระทุ่มแบน จำนวน 60,000 ดอก อำเภอบ้านแพ้ว จำนวน 30,000 ดอก สมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 40,000 ดอก หอการค้าร่วมกับเรือนจำจังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 10,000 ดอก และภาคเอกชน หน่วยงานภาครัฐ เช่น โรตารี่จังหวัดสมุทรสาคร  โรงพยาบาลมหาชัย  กศน. พัฒนาฝีมือแรงงาน ฯลฯ ที่สนับสนุนการอบรมให้ความรู้ และฝึกประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์ (ดารารัตน์) ให้แก่ประชาชน  โดยจะจัดประดิษฐ์ดอทกไม้จันทน์ในระหว่างเดือนเมษายน  ถึงเดือน  กันยายน  2560 นี้






    ยุทธนัย   อังกิตานนท์ บรรณาธิการ นสพ.เสียงประชา   ข่าว
 เรวัติ น้อยวิจิตร   hub admin rewat.noyvijit@hotmail.com  08-1910-7445

สุพรรณบุรี น้ำท่วมนาข้าวใน 4 อำเภอ กว่า 7 หมื่นไร่ บางปลาม้า เมือง อู่ทอง อ่วมสุด




               นายพิภพ บุญธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี นายเอกภพ จันทร์เพ็ญ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดสุพรรณบุรี นายชัยรัตน์ เหมือนพลอย ผอ.โครงการชลประทานสุพรรณบุรี นำคณะลงตรวจสอบพื้นที่นำท่วมของ อ.บางปลาม้า โดยนายพิภพ บุญธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี กล่าวว่า พื้นที่ของจังหวัดสุพรรณบุรีขณะนี้กำลังประสบปัญหาน้ำท่วมอยู่ 4 อำเภอ คือ อ.บางปลาม้า อ.สองพี่น้อง อ.เมือง และ อ.อู่ทอง ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรีได้มอบหมายให้ลงพื้นที่พร้อมสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดสุพรรณบุรี เกษตรและสหกรณ์จังหวัด และกรมชลประทาน จังหวัดสุพรรณบุรี ลงพื้นที่ตรวจสอบพบว่าระดับน้ำค่อนข้างสูงเป็นพิเศษ เพราะในช่วงตั้งแต่วันที่ 24-26 พ.ค.ที่ผ่านมา ได้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องในพื้นที่ของจังหวัดสุพรรณบุรี ทำให้ระดับน้ำในพื้นที่ 4 อำเภอดังกล่าว ได้รับความเสียหาย





              ทางคณะกรรมการช่วยเหลือผู้ประสบภัย จังหวัดสุพรรณบุรี ลงมาตรวจสอบความเสียหาย สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือเกษตรกรได้ช่วยเหลือตนเองส่วนหนึ่ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ร่วมกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และทางอำเภอบางปลาม้าได้ระดมกันช่วยเหลืออีกส่วนหนึ่ง เพราะพื้นที่บางจุดสามารถสูบน้ำออกจากนาได้ แต่ในพื้นที่ที่มีระดับน้ำสูงมากความช่วยเหลืออาจจะเข้าไม่ถึง ก็กลายเป็นท้องทะเล จากนั้นเราจะให้ความช่วยเหลือต่อไป ขอแจ้งให้ทราบว่าทางจังหวัดไม่ได้นิ่งนอนใจ เราได้รับทราบความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง เรามีศูนย์ปฏิบัติการอยู่ในทุกอำเภอ ทางจังหวัดได้ลงมาติดตาม ดูแลและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ความช่วยเหลือ ขอให้พี่น้องประชาชนเชื่อใจได้ว่าทางจังหวัดได้ดูแลอย่างทั่วถึง





          ในส่วนของพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายทางการเกษตรจากอุทกภัยของจังหวัดสุพรรณบุรี มี 4 อำเภอ  ประกอบด้วย

    อ.เมือง มีทั้งหมด 14 ตำบล มี 64 หมู่บ้านพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายจำนวน 20,175 ไร่               อ.บางปลาม้า มีทั้งหมด 13 ตำบล มี 90 หมู่บ้านพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายจำนวน 30,691 ไร่
    อ.สองพี่น้อง มีทั้งหมด 12 ตำบล มี 34 หมู่บ้านพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายจำนวน 2,808 ไร่         อ.อู่ทอง มีทั้งหมด 9 ตำบล มี 55 หมู่บ้านพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายจำนวน 17,700 ไร่






                 ด้านนายอนันต์ นาคนิยม นายอำเภอบางปลาม้า กล่าวว่า ขณะนี้ อ.บางปลาม้า ซึ่งมี 14 ตำบลซึ่งอยู่ฝั่งตะวันออกแม่น้ำท่าจีน 7 ตำบลและฝั่งตะวันตก 7 ตำบล ถูกน้ำท่วมครบทั้ง 14 ตำบล วันนี้มีน้ำท่วมขังนาข้าวในพื้นที่ฝั่งตะวันออก จำนวน 10,000 ไร่ โดยฝั่งตะวันออกได้ประสานกับโครงการชลประทานทั้ง 3 โครงการ ประกอบด้วย โครงการชันสูตร โครงการโพธิ์พระยา โครงการผักไห่ได้รับความอนุเคราะห์ลดน้ำจากคลองสุพรรณ3 ลดน้ำที่ประตูสามกั๊ก ลดจากเดิม 30 ซม. ที่ประดูราชโด ส่วนด้านท้ายโครงการคลองเจ้า 7 บางยี่หน ได้สูบน้ำจากคลองเจ้า 7 บางยี่หนลงแม่น้ำท่าจีน





                โครงการโพธิ์พระยา ได้นำเครื่องสูบมาช่วยสูบที่ประตูบางปลาม้า อีก 2 เครื่อง ถ้าฝนไม่ตกหรือตกไม่มากคิดว่าน้ำจะลดลงตามลำดับ พื้นที่ประมาณ 1,000 ไร่ในเขต ต.จระเข้ใหญ่ ที่ถูกน้ำท่วมสูง เกือบ 1 เมตร ได้ประสานกำนัน ตลอดจนพี่น้องเกษตรกร หลังจากที่น้ำลงเหลือประมาณ 50 ซม. ก็จะเดินเครื่องสูบน้ำโดยขอรับการสนับสนุนจากจังหวัดสุพรรณบุรี ในการสูบน้ำในการช่วยเหลือเกษตรกร ถ้าเราสามารถสูบน้ำได้เร็วข้าวที่ถูกน้ำท่วมอาจจะไม่เสียหาย ส่วนฝั่งตะวันตกน้ำ โดยเฉพาะพื้นที่ ต.วัดโบสถ์ ซึ่งเป็นพื้นที่ต่ำรับน้ำจาก อ. เมือง สามชุก อู่ทอง ดอนเจดีย์ ขณะนี้น้ำในคลองระบายใหญ่ เพิ่มขึ้นจากเดิม ทำให้คันคลองระบายน้ำที่ไม่แข็งแรง จึงพังหลายจุดทำให้มวลน้ำทะลักเข้าท่วมนาข้าว ประมาณ 5,000 ไร่ ที่ก่อนหน้านี้เกษตรกรได้ช่วยกันเสริมแนวคันไม่สามารถรับปริมาณน้ำที่สูงขึ้นมากเอาไว้ได้จึงพังลงอีกรอบ จนกู้ไม่ไหวทำให้นาข้าวประมาณ 10,000 ไร่ของฝั่งตะวันตกต้องจมน้ำ ขณะนี้ได้ระดมรถแบ็คโอ 7 คันมาตักดินทำแนวป้องกันไม่ให้น้ำทะลักเข้าท่วมนาข้าวของเกษตรกร อีกหลายหมื่นไร่ไม่ให้จมน้ำ



เกรียงไกร  ก่อเกียรติตระกูล  บรรณาธิการข่าว        
เรวัติ  น้อยวิจิตร  Hub Admin rewat.noyvijit@hotmail.com  081-9107445