หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

สระบุรี นายเอกพร จุ้ยสำราญ เป็นประธานการประชุมโครงการผลิตกระแสไฟฟ้า



         จังหวัดสระบุรี จัดประชุมคณะกรรมการการมีส่วนร่วมโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าภายในนิคมอุตสาหกรรมแก่งคอย จ.สระบุรี





           เมื่อ 13 ก.พ. 59 เวลา 10.00 น  คณะกรรมการการมีส่วนร่วมและกำกับดูแลการก่อสร้างโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากวัสดุที่ไม่ใช้แล้วในนิคมอุตสาหกรรมแก่งคอย (กนอ) ได้จัดประชุมขึ้นเป็น ครั้งที่ 2/2559 ณ ห้องประชุมผาเสด็จ ที่ว่าการ อ.แก่งคอย  โดยมีมีนายเอกพร  จุ้ยสำราญ  นายอำเภอแก่งคอย เป็นประธาน พร้อมกับ พ.อ.เพิ่มศักดิ์  ขุนโขลน เป็นผู้แทน มทบ.18 เพื่อติดตามข้อเรียกร้อง/ข้อเสนอของกลุ่มคัดค้านที่ได้เสนอไปก่อนหน้านี้และหารือเรื่องอื่นๆ เกี่ยวกับโครงการและการดำเนินงานของคณะกรรมการการมีส่วนร่วม มีตัวแทนกลุ่มผู้คัดค้านโครงการในฐานะคณะกรรมการการมีส่วนร่วม , ราษฎรกลุ่มผู้คัดค้าน ร่วมประชุมรวมประมาณ 50 คน






                โดย คณะกรรมการภาค ประชาชน นำโดย นายสมหมาย  สิบพันทา แกนนำกลุ่มเรียกร้อง ให้ โรงงาน สร้างความเข้าใจถึงผลกระทบ,ข้อดีข้อเสียให้ชาวบ้านทราบ และเพื่อให้มีส่วนร่วมการตัดสินใจ โดยเสนอการทำประชามติ ของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบมาเป็นแนวทางในการตัดสินใจ โดยให้ฝ่ายทหารเป็นผู้ดำเนินการ ทำประชามติให้ได้ข้อสรุป และไม่เห็นด้วยที่ใช้ชื่อว่าคณะกรรมการการมีส่วนร่วมและกำกับดูแลโครงการผลิตกระแสไฟฟ้า เนื่องจากยังไม่ได้ข้อยุติเรื่องการดำเนินโครงการ โดยจะขอให้เปลี่ยนเป็นคณะกรรมการการมีส่วนร่วมการหาข้อยุติเพื่อคลี่คลายข้อพิพาท/การไม่เข้าใจกันระหว่าง กนอ. และประชาชนในพื้นที่ พร้อม เสนอแนวทางการมีส่วนร่วมในโครงการของกลุ่ม เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการคัดกรองโรงงานที่จะมาตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมแก่งคอย ต้องให้ประชาชนได้รับทราบและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และ นิคมอุตสาหกรรมแก่งคอยจะต้องดำเนินการสร้างระบบสาธารณูปโภคตามที่ได้ชี้แจงใน EIA ให้เสร็จสิ้นก่อนจึงจะอนุญาตให้โรงงานต่างๆ







             ด้าน ผู้แทน กนอ. ก็ยืนยันว่าระบบสาธารณูปโภคจะสร้างเสร็จทันอย่างแน่นอนกำหนดสร้างเสร็จปี 59 จึงไม่สามารถตกลงกันได้ในประเด็นดังกล่าว ส่วน ตัวแทนบริษัท ได้แจ้งว่าข้อเสนอต่างๆ บริษัทน่าจะทำตามข้อเสนอได้ทั้งหมด ยกเว้นในเรื่องขอให้บริษัทมอบเงินปีละ 50 ล้านบาท ในการดูแลชุมชน เนื่องจากในการดำเนินโครงการจะมีกำไรไม่มาก




              ส่วนการเสนอการทำประชามติ ของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบมาเป็นแนวทางในการตัดสินใจ แต่ที่ประชุมก็ยังติดขัดในข้อกฎหมาย/ระเบียบที่จะมารองรับการทำประชามติหรือประชาคมไม่ได้ เพราะหากจะมีการลงประชามติจะต้องทำในรูปแบบของการตกลงร่วมกันของทุกฝ่าย กลุ่มจึงขอยุติประชุม และแจ้งว่าอาจจะได้กลับมาหารือในโอกาสต่อไป





(คนธรรมดา ม้าตัวเดียว)
 เรวัติ น้อยวิจิตร   hub admin rewat.noyvijit@hotmail.com  08-1910-7445

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น