หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ม.คริสเตียน สำรวจความคิดเห็น ปชช.เกี่ยวกับ การใช้โซเชียลมีเดีย ของวัยรุ่น

 


ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(หรือโซเชียลมีเดีย) ของวัยรุ่น
โดย ฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน




         ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทร์จิรา  วงษ์ขมทอง อธิการบดีมหาวิทยาลัยคริสเตียน เปิดเผยว่า ฝ่ายวิจัยของมหาวิทยาลัยคริสเตียน      ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือโซเชียลมีเดีย ในวัยรุ่นที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย จำนวน 1,283 คน เป็นชายร้อยละ 55.3 และหญิงร้อยละ 44.7  กลุ่มอายุ 18-30 ปี มากที่สุด ร้อยละ 33.7 มีสถานภาพโสด ร้อยละ 39.4  และสถานภาพสมรส ร้อยละ 36.9  นับถือศาสนาพุทธ  มากที่สุด ร้อยละ 96.3  มีการศึกษาระดับปริญญาตรีมากที่สุด ร้อยละ 38.6 เป็นนักเรียน/นักศึกษา มากที่สุด ร้อยละ 28.0 เป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 22.9 และเป็นเจ้าของกิจการ/มีธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 20.1 






ประชาชนกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 69.5 มีความเห็นว่า วัยรุ่นมีพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียมากถึงมากที่สุด กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 67.4  มีความห็นว่า วัยรุ่นใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการติดต่อสื่อสารกับเพื่อนและคนในครอบครัวมากที่สุด และร้อยละ 54.4 มีความเห็นว่า ใช้เพื่อความบันเทิง ร้อยละ 58.9  มีความเห็นว่า วัยรุ่นใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการสนทนามากเกินจำเป็น และร้อยละ 46.5 เห็นว่า ใช้ในการดูสื่อลามกอนาจาร ทั้งนี้ ร้อยละ 39.3 เห็นว่า ใช้ในการเล่นเกมส์ออนไลน์และการเล่นการพนันออนไลน์






กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 54.เห็นว่า วัยรุ่นควรใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการค้นคว้าข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียน  และร้อยละ 53.0  เห็นว่า ควรใช้ติดต่อสื่อสารกับครู/อาจารย์ สำหรับเรื่องระยะเวลาในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร้อยละ 33.8 มีความเห็นว่า วัยรุ่นใช้เวลามากกว่า ชั่วโมงต่อวัน และร้อยละ 24.7 มีความเห็นว่า วัยรุ่นใช้เวลาวันละ 4-6 ชั่วโมง ส่วนเรื่องผลเสียต่อวัยรุ่น ร้อยละ 41.7 มีความเห็นว่า ทำให้ผลทางการเรียนตกต่ำ และร้อยละ 37.6             มีความเห็นว่า อาจส่งผลให้ถูกล่อลวง/ถูกทำร้ายหรือถูกข่มขืน 






เมื่อสอบถามถึงหน่วยงานที่ควรรับผิดชอบดำเนินการแก้ไขปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ไม่เหมาะสมของวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 48.4 เห็นว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควรเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบในการแก้ปัญหาเรื่องนี้  ร้อยละ 43.8 เห็นว่า ควรเป็นกระทรวงศึกษาธิการที่ต้องรับผิดชอบ และร้อยละ 33.3  เห็นว่า พ่อ แม่ ผู้ปกครองควรร่วมรับผิดชอบแก้ปัญหาเรื่องนี้ด้วย ส่วนความคิดเห็นเรื่องการป้องกันปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ไม่เหมาะสมของวัยรุ่น ร้อยละ 49.7  เห็นว่า ควรมีการกำหนดบทลงโทษเกี่ยวกับการเผยแพร่สื่อลามก อนาจาร ร้อยละ 40.5 เห็นว่า ควรควบคุมและกวดขันการเล่นเกมส์ หรือการพนันออนไลน์  รวมทั้งร้อยละ 39.เห็นว่า พ่อ แม่ ผู้ปกครองและครู อาจารย์ ควรเป็นแบบอย่างที่ดี   ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้กับวัยรุ่น 








ในปัจจุบันการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นปัจจัยที่จำเป็นสำหรับชีวิตประจำวันของคนทุกวัย  โดยเฉพาะวัยรุ่นเป็นกลุ่มคนที่เกิดมาในยุคดิจิทอล จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่และสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ถูกต้องและเหมาะสมจากผู้ปกครอง อีกทั้งครูอาจารย์จะต้องเป็นแบบอย่างที่ดี และให้ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารเทศอย่างถูกต้องและใช้ให้เกิดประโยชน์ เพื่อให้วัยรุ่นไทยสามารถควบคุมดูแลตนเองได้ รวมทั้งไม่ตกเป็นเครื่องมือของมิจฉาชีพที่จะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการล่อลวงให้เด็กและเยาวชนหลงผิด เสียเวลา เสียทรัพย์ เสียการเรียนและ   อาจทำให้เสียอนาคตได้






นางสาวชนาธิป  พึ่งดอกไม้   โทรศัพท์ 0-3422-9480  ต่อ 1171-3
 เรวัติ น้อยวิจิตร   hub admin rewat.noyvijit@hotmail.com  08-1910-7445

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มอบรางวัล ให้ ส.ต.ต.เสกสรรค์ ภูเขียว ตำรวจฮีโร่



            รองผบ.ตร.เดินทางมามอบรางวัลและเป็นขวัญกำลังใจให้ตำรวจหนุ่มฮีโร่และชุดจับกุมคนร้ายที่สภ.บ้านหมอ






           เมื่อวันที่27กุมภาพันธ์2569  เวลา14.30 น. พล.ต.อ. พงศ์พัฒน์ พงษ์เจริญ รองผบ.ตร. พร้อมขณะได้เดินทางมาที่ สภ.บ้านหมอ อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี เพื่อมาเป็นขวัญกำลังใจและมอบเงินให้ ส.ต.ต.เสกสรรค์ ภูเขียว และชุดจับกุมและยังกล่าวชื่นชมการปฏิบัติหน้าที่ของชุดกับกุมอีกด้วยและยังกล่าวว่าจะเสนอผลงานในการปฏิบัติหน้าที่ในครั้งนี้ อีกด้วยและได้มีชาวบ้านได้มามอบกระเช้าของขวัญให้กับ ส.ต.ต.เสกสรรค์ ภูเขียว เพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้เพราะการปฏิบัติงานเป็นการเสี่ยงและเข้มแข็งเป็นตัวอย่างที่ดีกับวงการตำรวจต่อไป







            ต่อมาได้เดินทางไปดูจำลองเหตุการณ์สถานที่ตั้งด่านวันที่เกิดเหตุบริเวณหน้าวัดสะพานช้าง ถนนบ้านหมอ-พระพุทธบาทว่าการปฏิบัติของตำรวจชุดจับกุมคนร้ายทำตามขั้นตอนหรือไม่และก็ชื่นชมในการจับกุมคนร้ายในครั้งนี้ว่าทำอย่างถูกต้องและยังกล่าวว่าการติดกล้องไว้บนหมวกกันน็อกเป็นเรื่องที่ดีต่อตำรวจที่ขับขี่จักรยานยนต์ของตำรวจและจะนำเสนอให้ติดกล้องที่หมวกกันน็อกกับตำรวจทุกสถานีตำรวจอีกด้วย






(คนธรรมดา  ม้าตัวเดียว)
เรวัติ น้อยวิจิตร   hub admin rewat.noyvijit@hotmail.com  08-1910-7445

วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ม.นเรศวร ทำวิจัย “ ผ้าทอลวดลายใหม่เอกลักษณ์ประจำจังหวัดพิษณุโลก ”


มหาวิทยาลัยนเรศวรทำวิจัย “ผ้าทอลวดลายใหม่เอกลักษณ์ประจำจังหวัดพิษณุโลก”
องค์ความรู้จากภูมิปัญญา สู่สินค้าวัฒนธรรมรับประชาคมอาเซียน
สะท้อนตัวตน บนความร่วมสมัย


                ผ้าไหม ผ้าฝ้ายฝีมือคนไทย คือภูมิปัญญา วัฒนธรรมอันงดงามที่มีชื่อเสียงขจรขจายไปทั่วโลก โดยแต่ละจังหวัดต่างมีผ้าทอลวดลายเป็นเอกลักษณ์ สำหรับจังหวัดพิษณุโลกปัจจุบันมีผ้ามัดหมี่ลายดอกปีบ ซึ่งถอดแบบมาจากปีบพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานของจังหวัดพิษณุโลก เป็นผ้าทอพื้นเมืองประจำจังหวัดที่มีการรณรงค์ส่งเสริมให้สวมใส่อย่างต่อเนื่อง แต่นอกจากนี้แล้ว พิษณุโลกยังมีลวดลายผ้าทอของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่อาศัยกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ซึ่งมีความน่าสนใจอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้เอง สถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน มหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งมีการศึกษา วิจัยผ้าของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ตามภารกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม จึงได้ดำเนินงานวิจัยเรื่อง “การออกแบบลวดลายผ้าทอเอกลักษณ์จังหวัดพิษณุโลก” ขึ้น


ลวดลายดอกปีบกาสะลอง


งานวิจัยนี้เริ่มตั้งแต่การศึกษา รวบรวมข้อมูลผ้าของแต่ละชาติพันธุ์ในจังหวัดพิษณุโลก โดยการลงพื้นที่ของบุคลากรสถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน พร้อมทั้งศึกษาโบราณสถาน โบราณวัตถุ และเอกสารตำราต่าง ๆ ที่สื่อความหมายตัวตนของพิษณุโลก เช่น ลายปูนปั้น จิตรกรรมฝาผนัง เป็นต้น”ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วศิน ปัญญาวุธตระกูล ผู้อำนวยการสถานอารยะรรมศึกษา โขง-สาละวิน มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวถึงงานวิจัย โดยมีนายวชิรพงษ์ วงศ์ประสิทธิ์ นักวิชาการช่างศิลป์ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย เล่าถึงการดำเนินการว่า


  ลวดลายปีบขาว

“เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้ว ก็นำมาออกแบบเป็นลวดลายผ้าทอในลักษณะกราฟ โดยใช้หลักการสังเกต วิเคราะห์ ศึกษาและจัดกลุ่มลวดลายออกเป็น ๔ กลุ่ม คือ กลุ่มลวดลายสัตว์ กลุ่มลวดลายพรรณไม้ กลุ่มลวดลายสิ่งของเครื่องใช้ และกลุ่มลวดลายเบ็ดเตล็ด กลุ่มละ ๓ ลวดลาย รวมเป็น ๑๒ ลาย จากนั้นนำสำรวจความคิดเห็น สอบถามกลุ่มตัวอย่าง โดยวิธีการสุ่มแบบไม่จำเพาะเจาะจง และไม่เน้นเฉพาะคนพิษณุโลกเพราะเราคาดหวังว่าเมื่องานวิจัยสำเร็จเกิดเป็นผืนผ้าขึ้นมาแล้ว ทุกคนสามารถใช้ได้”
จากการสอบถามกลุ่มตัวอย่าง ได้ลวดลายลักษณะผ้าทอที่มีความพึงพอใจสูงสุด จำนวน ๖ ลาย จึงนำไปสู่กระบวนการทอจริง โดยได้รับความร่วมมือจากกลุ่มทอผ้าบ้านหนองหญ้าปล้อง ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีเชื้อสายชาติพันธุ์ไทลาว


ลวดลายดอกนนทรี

ผ้าทอ ๖ ลวดลายประกอบด้วย

๑.    ลวดลายดอกปีบกาสะลองได้แรงบันดาลใจจากมุมด้านหน้าของดอกปีบ ที่มีลักษณะกลีบดอก ๔ กลีบ
๒.    ลวดลายปีบขาว เป็นแนวคิดต่อเนื่องมาจากลวดลายผ้าทอดอกปีบดั้งเดิม
๓.ลวดลายดอกนนทรี มีแรงบันดาลใจจากดอกไม้ประจำจังหวัดพิษณุโลกคือ ดอกนนทรี ลักษณะเป็นดอกสีเหลือง กลีบเลี้ยงและก้านกิ่งมีสีน้ำตาล
๔. ลวดลายไก่โคมขอ ได้แรงบันดาลใจจากไก่ชนเหลืองหางขาวของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งปรากฏอยู่ในพงศาวดารเมื่อครั้งพระองค์ทรงพำนักอยู่ในกรุงหงสาวดี ทรงนำไก่เหลืองหางขาวไปชนกับไก่ของพระมหาอุปราช
๕. ลวดลายสองแควได้แรงบันดาลใจจากลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดพิษณุโลกที่มีแม่น้ำสองสายไหลผ่านอันเป็นที่มาของชื่อเมืองสองแคว
๖. ลวดลายน้ำน่านได้แนวคิดจากแม่น้ำน่าน แม่น้ำสายหลักของจังหวัดพิษณุโลก
นายวชิรพงษ์ วงศ์ประสิทธิ์ เล่าถึงกระบวนการวิจัยต่อว่า“ตอนนี้เราได้ผ้าทอทั้ง ๖ ลวดลายแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การนำไปสำรวจความพึงพอใจอีกครั้ง เพื่อให้ได้ ๓ ลวดลายใหม่ เป็นผ้าทอเอกลักษณ์ของจังหวัดพิษณุโลกจำนวนทั้งสิ้น ๓ ลวดลาย เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคในการคัดสรรลวดลายผ้าทอทั้งในด้านความสวยงามและสุนทรียภาพ ซึ่งทำให้เกิดโอกาสและช่องทางในด้านการแข่งขันตามลักษณะกลไกของการตลาด”


ลวดลายไก่โคมขอ

นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังมุ่งหวังให้ผลของการวิจัยครั้งนี้สอดรับกับการเปิดประชาคมอาเซียนเนื่องจากแนวโน้มของรูปแบบสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการจะเปลี่ยนไปเป็นสินค้าที่มีความเป็นวัฒนธรรมเฉพาะถิ่นมากยิ่งขึ้นดังนั้น เมื่อมีการคิดประดิษฐ์ลวดลายผ้าเอกลักษณ์ของตัวเอง จังหวัดพิษณุโลกก็จะมีวัฒนธรรมผ่านลวดลายผ้าทอพื้นเมือง นำเสนอเป็นสินค้าวัฒนธรรมประจำจังหวัดที่มีคุณลักษณะโดดเด่นเฉพาะตัว มีความหลากหลาย เป็นการสร้างมูลค่าและคุณค่าทางเศรษฐกิจ สร้างงาน สร้างรายได้ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนได้


ลวดลายสองแคว

สถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน มหาวิทยาลัยนเรศวร ขอเชิญทุกท่านชื่นชมผ้าทอต้นแบบจำนวน ๖ ลวดลายเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเลือกสรร กลั่นกรอง ก่อเกิดเป็น ๓ ลวดลายผ้าทอเอกลักษณ์ประจำจังหวัดพิษณุโลก ในนิทรรศการ “เส้นสายชาติพันธุ์สู่การพัฒนาผ้าทอร่วมสมัย”ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานความจริงยิ่งกว่าฝัน หลังวัน ๒๕ ปี มหาวิทยาลัยนเรศวร วันที่ ๑๐ – ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๙ ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า พิษณุโลก



ลวดลายน้ำน่าน

 พรปวีณ์  ทองด้วง   นักประชาสัมพันธ์
 สถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน  มหาวิทยาลัยนเรศวร
เรวัติ น้อยวิจิตร   hub admin rewat.noyvijit@hotmail.com  08-1910-7445

สุพรรณบุรี นางตุลาวรรณ ทัพวนานต์ จัดโครงการสนามจราจร ให้เด็กประถมศึกษา




         ขนส่งสุพรรณบุรี จัดกิจกรรมเสริมสร้างจิตสำนึกความปลอดภัยให้กับเด็กนักเรียนระดับชั้น ป.4 – 6 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 จำนวน 7 รุ่นรวม 700 คน



 นางตุลาวรรณ ทัพวนานต์ ขนส่งจังหวัดสุพรรณบุรี 


         นางตุลาวรรณ ทัพวนานต์ ขนส่งจังหวัดสุพรรณบุรี เปิดเผยว่า จังหวัดสุพรรณบุรี ได้ดำเนินการตามโครงการสนามจราจรเยาวชนเสริมสร้างจิตสำนึกความปลอดภัย เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในการใช้รถใช้ถนนอย่างถูกต้องกับเด็กนักเรียนระดับชั้น ป.4 – 6 มาแล้วเป็นเวลา 12 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๖ จนถึงปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕8 โดยเฉพาะในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ - ๒๕๕8 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน (กปถ.) หรือกองทุนเลขสวย ทำให้สามารถจัดหาวัสดุ ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมสนามจราจรเยาวชนให้กับสำนักงานขนส่งจังหวัด/สำนักงานขนส่งจังหวัดสาขาได้อย่างต่อเนื่องทั่วถึงเพียงพอ สามารถจัดอบรมสนามจราจรเยาวชนได้อย่างเต็มรูปแบบ การดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือจากโรงเรียนต่าง ๆ ในการเข้าร่วมกิจกรรมด้วยดี นักเรียนและเยาวชนให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก และเพื่อความต่อเนื่องในปี 2559 จึงได้ดำเนินโครงการดังกล่าวต่อไปอีก โดยในเขตรับผิดชอบของสำนักงานขนส่งจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 3 รุ่น รวม 300 คน สำนักงานขนส่งจังหวัดสุพรรณบุรี สาขาอำเภอเดิมบางนางบวช และสาขาอำเภอสองพี่น้อง สาขาละ 200 คน รวมทั้งสิ้น 700 คน






          ขนส่งจังหวัดสุพรรณบุรี กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ในการวางรากฐานด้านจิตสำนึกความปลอดภัย ควบคู่ไปกับการให้ความรู้ที่ถูกต้องในการใช้รถใช้ถนนและปลูกฝังวินัยจราจร เสริมสร้างทักษะด้านการขี่รถจักรยานสองล้ออย่างถูกต้องและปลอดภัยพร้อมทั้งสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดสวัสดิภาพในการใช้รถใช้ถนน ซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีและเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีจิตสำนึกความปลอดภัยและวินัยจราจรได้ในอนาคต อันเป็นการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้สถานศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมจะได้ตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนแก่นักเรียนเพิ่มขึ้นด้วย   จึงขอเชิญชวนสถานศึกษาหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สนับสนุนสถานศึกษาในพื้นที่ที่สนใจสามารถขอเข้าร่วมโครงการดังกล่าวโดยแจ้งความประสงค์เป็นหนังสือไปที่สำนักงานขนส่งจังหวัดสุพรรณบุรี โทร. 035 – 412463 สำนักงานขนส่งจังหวัดสุพรรณบุรี สาขาอำเภอเดิมบางนางบวช โทร. 035-578506 และสาขาอำเภอสองพี่น้อง โทร. 035-589508 เพื่อจะได้จัดลำดับตามความเหมาะสมต่อไป






เกรียงไกร ก่อเกียรติตระกูล บรรณาธิการข่าวท้องถิ่น อู่ทองนิวส์
 เรวัติ น้อยวิจิตร   hub admin rewat.noyvijit@hotmail.com  08-1910-7445

สระบุรี อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จัดงานประเพณีวัฒนธรรมไท--ยวน อย่างยิ่งใหญ่



             เมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2559  เวลา 18.00 น.นายอภิชาติ   เหมือนมนัส นายอำเภอเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสระบุรี ร่วมกับพี่น้องชาวอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี จัดงานส่งเสริมอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรม ไท-ยวน ประจำปี 2556 โดยมี นายวิเชียร  พุฒิวิญญู   ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี เดินทางเป็นประธานในพิธี พร้อมคณะนางอังคณา  พุฒิวิญญู  นายกเหล่ากาชาดจังหวัดสระบุรี  และหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดสระบุรี นายกเทศมนตรีตำบลหน้าพระลาน   นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุกตำบล  คณะผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในเขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก ณ. บริเวณสนามหน้าที่ว่าการอำเภอเฉลิมพระเกียรติ  จ.สระบุรี









             นายอภิชาต ฯ กล่าวว่า สืบเนื่องจากในพื้นที่  อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี  มีประชาชนประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์  จะเป็นชาวไท-ยวนที่ อพยพมา จากเมืองเชียงแสน   พร้อมกับชาวไท-ยวนพื้นที่ อื่นๆ เช่นที่อ.เสาไห้ อ.เมืองสระบุรี  และชาวไท-ยวน จ.ราชบุรี  เมื่อครั้งในรัชกาลที่ 1  แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ปลดปล่อยหัวเมือง ภาคเหนือจากการปกครอง ของพม่า ใน อดีตกาลชาวไท-ยวน  ที่อพยพโยกย้าย  มาลงมาตั้งรกรากอยู่ในเขตนี้  จึงมีวัฒนธรรมประเพณีมีที่แตกต่างจากวัฒนธรรมประเพณี   ของชาวภาคกลางโดยทั่วไป  มีความเป็นอยู่ และมี อัตลักษณ์ ที่โดดเด่น  ทางด้านการแต่งกาย   ภาษาพูดอาหารการกิน วิถีชีวิต และขนบธรรมเนียม ประเพณี  ที่ยังคงประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมา   เช่นประเพณีบุญกลางบ้าน  ประเพณีบุญหนังสือ  ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเข้มแข็งของภูมิปัญญาท้องถิ่นและความผูกพันทางสังคมในชุมชนให้กลุ่มชาติพันธุ์  ชาวไท-ยวน มีความผูกพันทางสังคมต่อกันอย่างลึกซึ้ง  มีวัฒนธรรมประเพณี  อัตลักษณ์เฉพาะตนของชาวไท-ยวน  เป็นเครื่องมืออันสำคัญในการผูกพัน ร้อยรับทางสังคม ที่ทำให้ชาวไท-ยวน ทุกคนและชาวไทย เครือข่ายอื่นที่อยู่ร่วมกันภาคภูมิใจในความงดงาม









              ทางด้านจิตใจที่มีความอ่อนโยนและด้านการแสดงออกทางสังคม  เช่นด้านภาษา ด้านการแต่งกายด้านวัฒนธรรมประเพณี อันแสดงถึงความเป็นชาติพันธุ์ที่มี อารยะธรรม อันเก่าแก่  การจัดงานส่งเสริมอนุรักษ์ ประเพณีวัฒนธรรม ไท-ยวน อ.เฉลิมพระเกียรติในครั้งนี้  ถือเป็นการแสดงออกถึงความงดงาม  ความภาคภูมิใจ และความตระหนักถึงคุณค่าของความดีงามของมรดกวัฒนธรรม  ที่บรรพบุรุษได้ตกทอดสู่ลูกหลาน  ทำให้สังคมไทย ทั่วไปได้รับรู้









            ในงานครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือ จาก นายจิโรจ  ศรีสถาพร ผู้จัดการฝ่ายรัฐสัมพันธ์ และมวลชนสัมพันธ์บ.พีทีไอ โพลีน  จำกัด (มหาชน)   และ บ.ทรูสโตน จํากัด  รวมถึงพี่น้องประชาชนในพื้นที่ซึ่งทุกฝ่าย  ถือว่าเป็นเจ้าภาพงานร่วมกันจนทำให้งานที่จัดขึ้นในวันนี้สมบูรณ์ทั้งบรรยากาศและความเป็นมิตรพร้อมที่จะให้ผู้มาร่วมงานทุกท่านได้ชื่นชมความงามของประเพณีวัฒนธรรมในครั้งนี้ซึ่งบรรยากาศ  ภายในงาน มีการเชิญขันโตก  การแสดงของกลุ่ม ชาติพันธุ์ ชาวไท-ยวนการประกวดสาวงามไท-ยวน  การประกวดผู้ร่วมงานที่ แต่งกายดี มีเอกลักษณ์ตามวัฒนธรรมไท-ยวน ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานเป็นอย่างดียิ่ง








(คนธรรมดา  ม้าตัวเดียว)
เรวัติ  น้อยวิจิตร  Hub Admin  rewat.noyvijit@hotmail.com  08-1910-7445