หน้าเว็บ

วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ดร.ไพศาล ปันแดน ชูนโยบาย ศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง เพื่ออาหารกลางวัน ของ สพป.สพ.เขต 3



             สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 น้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯรัชกาลที่ 9จัดเป็นศูนย์มุมเศรษฐกิจพอเพียงภายในโรงเรียน ให้นักเรียนปลูกพืชผักสวนครัว เลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ เพื่อเชื่อมโยงในการนำผลผลิตมาผสมผสานกับการจัดทำโครงการอาหารกลางวัน



         
               ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปสำรวจโรงเรียนในพื้นที่อำเภอหนองหญ้าไซ และ อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่าโรงเรียนในพื้นที่หลายแห่งมีอาหารถูกหลักอนามัยให้นักเรียนรับประทาน โยเฉพาะในพื้นที่เขตการศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3  โดยนายนิมิต วันไชยธนวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี เน้นให้ติดตามใน 2 ด้านสำคัญ ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการอุดหนุนเป็นค่าอาหารกลางวันของนักเรียน และด้านคุณภาพของอาหารที่ถูกหลักสุขอนามัย ถูกต้องตามหลักโภชนาการ เหมาะสม และเพียงพอแก่จำนวนนักเรียน และจะทำให้ได้ข้อมูลส่วนหนึ่งนำมาร่วมสนับสนุนการกำหนดมาตรการและแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการดำเนินการอาหารกลางวันของนักเรียนในระดับจังหวัด โดยผ่านมติความเห็นชอบของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดสุพรรณบุรีต่อไป




               ด้านดอกเตอร์ไพศาล ปันแดน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 กล่าวว่าในพื้นที่เขต 3 มีทั้งหมด 127 โรงเรียน สำหรับในเรื่องของโครงการอาหารกลางวัน ของเขต 3 ได้มีการเน้นย้ำกำกับติดตามเกี่ยวกับโครงการอาหารกลางวันมาอย่างต่อเนื่อง โดยให้โรงเรียนได้น้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯรัชกาลที่ 9 กลับมาบูรณาการ เพื่อให้เชื่อมโยงกับการจัดการเรียนการสอน และเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของเด็กในสุพรรณบุรี ขณะนี้ถือว่าโรงเรียนในพื้นที่เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ที่มีการจัดเป็นศูนย์มุมเศรษฐกิจพอเพียงภายในโรงเรียน ให้นักเรียนปลูกพืชผักสวนครัว เลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ เพื่อเชื่อมโยงในการนำผลผลิตมาผสมผสานกับการจัดทำโครงการอาหารกลางวัน




              ที่ผ่านมาได้ออกไปให้คำแนะนำและดูแลการจัดกิจกรรมโครงการอาหารกลางวันเพื่อให้เด็กได้กินอิ่มนอนอุ่นตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมีการกำกับติดตามมาอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของโรงเรียนที่มีปัญหาเรื่องโครงการอาหารกลางวัน พบว่าเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งมีปัญหาเรื่องของงบประมาณ เช่นนักเรียนมี 60 คน แต่ได้ค่ารายหัวของอาหารกลางวันวันละ 20 บาท โรงเรียนนั้นก็จะได้วันละ 200 บาท แต่ในหลักการของการจัดทำอาหารกลางวันส่วนหนึ่งต้องมาจ้างแม่ครัว อาจจะเหมาจ่ายเป็นรายวันๆละ 200 บาทก็จะเหลือค่าอาหารกลางวัน 1000 บาท เพื่อจะจัดอาหารกลางวันให้เด็ก แต่จากการติดตามของเขตพื้นที่ พบว่าโรงเรียนสามรถที่จะช่วยเหลือตัวเองได้ในระดับหนึ่ง มีอาหารเพียงพอจากการที่โรงเรียนได้ปลูกพืชผักสวนครัวตามเศรษฐกิจพอเพียง จึงนำผลผลิตเหล่านี้มาเสริม



เกรียงไกร ก่อเกียรติตระกูล บรรณาธิการข่าว 
เรวัติ น้อยวิจิตร Hub Admin rewat.noyvijit@hotmail.com 081-9107445

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น