หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2560

พระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร.กระมล ทองธรรมชาติ ณ วัดมกุฏกษัตริยาราม



          กำหนดการพระราชทานเพลิงศพ  ศาสตราจารย์ ดร.กระมล ทองธรรมชาติ อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ  อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  อดีตประธานชมรมศิษย์เก่าโรงเรียนบางปลาม้า"สูงสุมารย์ผดุงวิทย์"  (ศ.สม. รุ่นที่ 4/2492)  ณ วัดมกุฏกษัตริยาราม  วันอาทิตย์ที่ 26 มี.ค.2560 เวลา 17.00 น. ขอแสดงความเสียใจและไว้อาลัยอย่างสุดซึ้ง  ขอบุญบารมีที่ท่านได้สั่งสมมา ขอให้ดวงวิญญาณท่าน   จงสู่สุคติสัมปรายภพด้วยเทอญ.

       
           

                            กระมล ทองธรรมชาติ

            กระมล ทองธรรมชาติ  ประธานศาลรัฐธรรมนูญ   ดำรงตำแหน่ง  28 มีนาคม พ.ศ. 2546 – 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  ดำรงตำแหน่ง 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 นายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์   เกิด 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2478  เสียชีวิต 20 มกราคม พ.ศ. 2560  ( 81 ปี)  ศาสนา พุทธ

            ศาสตราจารย์ ดร.กระมล ทองธรรมชาติ อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2539[1] และอดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เกิดเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2478 เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่งตั้งจากตุลาการศาลปกครองสูงสุด

          กมล ทองธรรมชาติ เกิดเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2478 สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ระดับปริญญาตรีจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระดับปริญญาโท M.A. (Government) Oberlin, Ohio สหรัฐอเมริกา และปริญญาเอก Ph.D (Government & Foreign Affairs) มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา เคยผ่านการศึกษาอบรมจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 25

          กมล ทองธรรมชาติ เริ่มรับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2 สมัย ในระหว่างปี พ.ศ. 2517 ถึง พ.ศ. 2525 และในปี พ.ศ. 2529 ถึงปี พ.ศ. 2533 และเป็นประธานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ในระหว่างปี พ.ศ. 2532 ถึงปี พ.ศ. 2543 ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

           เขาเคยเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[2]

          ในปี พ.ศ. 2543 ได้รับแต่งตั้งเป็นตุลาการศาลปกครองสูงสุด และเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในปีเดียวกัน (29 กันยายน พ.ศ. 2543 - 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2548) และเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ [3] ในเวลาต่อมา กระทั่งในปี พ.ศ. 2549 เขาได้รับตำแหน่งประธานคณะกรรมการสิทธิเสรีภาพและยุติธรรม (กสย.) (16 มกราคม พ.ศ. 2549 - ปัจจุบัน)

            เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2526 -  เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น มหาวชิรมงกุฏ [4]






  ภูดิท สุรัติรางคกุล  เลขาธิการชมรมศิษย์เก่าฯ  (ศ.สม.รุ่นที่ 33/2521)
เรวัติ  น้อยวิจิตร  Hub Admin  ศูนย์ข่าวท้องถิ่นออนไลน์  081-9107445

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น