หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ม.คริสเตียน เผยผลสำรวจความคิดเห็นของ ปชช.ที่มีต่อการสร้างเสริมสุขภาพ



ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการสร้างเสริมสุขภาพของคนไทย
โดย ฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน





ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทร์จิรา วงษ์ขมทอง อธิการบดี มหาวิทยาลัยคริสเตียน เปิดเผยว่า ฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน ได้สุ่มสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี และนครปฐม จำนวน 1,480 คน อายุ 18 ปีขึ้นไป โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นชาย ร้อยละ 51.3 และหญิงร้อยละ 48.7 กลุ่มอายุ 18-30 ปี มากที่สุด ร้อยละ 38.4  มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 47.5  นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 97.6   ระดับการศึกษาปริญญาตรีมากที่สุด ร้อยละ 35.5  ประกอบอาชีพเป็นเจ้าของกิจการ/ค้าขาย/มีธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 22.7 เป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 21.9 และนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 17.8




ประชาชนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 56.0 มีความคิดในระดับน้อยถึงปานกลางว่า คนไทยมีพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพน้อย  ร้อยละ 56.5 มีความคิดเห็นด้วยมากที่สุดว่า คนไทยมีพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพเนื่องจากได้รับคำแนะนำ  และร้อยละ 53.8 มีความเห็นว่า อยากมีสุขภาพแข็งแรง  ส่วนสาเหตุที่คนไทยไม่สนใจการสร้างเสริมสุขภาพ  กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 58.6 มีความเห็นว่า เกิดจากขาดความรู้  และร้อยละ 54.7 เห็นว่า ไม่สนใจสุขภาพ  สำหรับเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 88.3 มีความเห็นว่า ควรกินผักและผลไม้วันละครึ่งกิโลกรัม  และร้อยละ 84.4  เห็นว่า ควรดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว  ร้อยละ 83.7 เห็นว่า ควรนอนวันละ 6-8 ชั่วโมง นอกจากนั้นกลุ่มตัวอย่าง    ร้อยละ 78.4 เห็นว่า ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์  และร้อยละ 78.6 ยังเห็นอีกว่าไม่ควรสูบบุหรี่ ส่วนความ คิดเห็นต่อแนวทางการเสริมสร้างสุขภาพ  กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 66.2 เห็นว่า ควรให้ความรู้เรื่องการเสริมสร้างสุขภาพ และ  ร้อยละ 56.6 เห็นว่า ควรปลูกฝังค่านิยมการดูแลสุขภาพ  





ปัญหาสุขภาพของบุคคลที่มีสาเหตุมาจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของบุคคลมากกว่ามีสาเหตุ    มาจากสิ่งแวดล้อม และการที่บุคคลมีพฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสม เป็นดัชนีวัดที่สะท้อนให้เห็นแนวโน้มของปัญหาสุขภาพของประชาชนในสังคมว่า มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค การป่วย และการตายอย่างไร  การดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนจึงต้องเริ่มจากพฤติกรรมส่วนบุคคล เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการดูแลสุขภาพที่จะช่วยการลดปัญหา     ด้านสาธารณสุขได้บ้าง  ดังนั้น แพทย์ พยาบาลและบุคลากรด้านสุขภาพควรให้ความสำคัญกับการกำหนดนโยบายและการจัดสรรงบประมาณ  เพื่อภารกิจเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาวะ รวมทั้งให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของประชาชน เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเสริมสร้างสุขภาพของประชาชน  อันจะนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตและการลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประชนและของประเทศอีกด้วย





ชนาธิป  พึ่งดอกไม้  ฝ่ายประชาสัมพันธ์   มหาวิทยาลัยคริสเตียน
เรวัติ น้อยวิจิตร สุพรรณบุรีนิวส์  rewat.noyvijit@hotmail.com  08-1910-7445

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น