หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2557

แนวคิด ปฏิรูปท้องถิ่น ยุบ อบจ. อบต. ท่านเห็นอย่างไร !!

   



            แนวคิดขององค์กรข้าราชการส่วนท้องถิ่น โดยได้ "นำเสนอ" ให้ ยุบ อบจ. , ยุบ อบต. , ยุบเทศบาลนคร , เทศบาลเมือง และจัดตั้งเทศบาลจังหวัด เทศบาลอำเภอ ทั้งนี้จะเหลือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อยู่ 865 แห่ง (รวม กทม.และเมืองพัทยา)




             เทศบาลจังหวัด คือ จะมีทั้งหมด 76 แห่ง นายกเทศมนตรี มาจากการเลือกตั้ง สภาเทศบาล มาจากการเลือกตั้ง โดยจะทำงานใหญ่ รับผิดชอบเฉพาะเรื่องเท่านั้น เทศบาลอำเภอ (เหมือน กทม.) 787 แห่ง จากการยุบเทศบาลตำบล , ยุบ อบต. ปลัด อบต. เดิม จะเป็น ผู้อำนวยการเขต (คล้ายๆ กทม.)




แนวคิดของฝ่ายการเมืองท้องถิ่น - อบจ. อยู่เหมือนเดิม / แต่จำกัดหน้าที่ในชัดเจนขึ้น - เทศบาลนคร / เทศบาลเมือง ก็ยังอยู่เช่นเดิม - ยกฐานะ อบต. เป็นเทศบาล (ทั้งหมด) - ยุบรวม อบต. ยกฐานะเป็นเทศบาล - ยุบรวม อบต. กับเทศบาลข้างเคียง




              คสช. ประชุมแล้ว ตัวแทนกระทรวง มท. ไปประชุมยุบจาก อบจ. เป็น เทศบาลจังหวัด ตำแหน่ง นายก อบจ เป็น นายกเทศมนตรีจังหวัด.... เทศบาลเมืองของจังหวัด ก็ยุบรวมกับ อบจ เป็น เทศบาลจังหวัดต่อไปนี้ จะมีเทศบาลจังหวัด เทศบาลอำเภอ เทศบาลตำบล ส่วน อบต ไม่มี อำนาจหน้าที่ นายกเทศมนตรี จะไม่ได้มามีส่วนเกี่ยวข้องในการแต่งตั้งโยกย้าย จะเป็นหน้าที่ของ ปลัด สภาจังหวัด จะแบ่งเป็น 2 อย่าง คือ มาจากเลือกตั้ง 50% แต่งตั้ง 50% มาจาก เทศบาลอำเภอ ตำบล และข้าราชการประจำ
เหลือสามรูปแบบ ทจ/ทอ/ทต....////




             เกาะติดเหตุการณ์บ้านเมืองกับ  ข้อเสนอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อการปฏิรูปท้องถิ่น ยุค คสช. เพื่อคืนความสุขให้กับท้องถิ่นไทย

             ๑. ปฏิรูปท้องถิ่น จากเดิม มี ๔ รูปแบบคือ ๑. อบต. ๒. เทศบาล ๓. อบจ. และ ๔. รูปแบบพิเศษ กทม. , เมืองพัทยา     ให้คงเหลือ ๒ รูปแบบ คือ ๑. เทศบาล กับ ๒. รูปแบบพิเศษ
   
             ๒. ให้เปลี่ยนแปลงรูปแบบท้องถิ่น   อบต.ทั้งหมด เป็นเทศบาลตำบล มีที่ตั้ง ๑  ตำบล ๑ ท้องถิ่น อบต.ใด ที่มีพื้นที่เป็นตำบลเดียวกัน แต่มี ๒ อบต. หรือ ตำบลเดียวกัน มี ทั้ง อบต.และเทศบาลอยู่ด้วยกัน หรือ ตำบลเดียวกัน มี ๒ เทศบาลอยู่ในตำบลเดียวกัน ให้ยุบรวม เป็น ๑ เทศบาล ต่อ ๑ ตำบล

             ๓. จัดให้เทศบาล มี ๓ รูปแบบ คือ ๑ เทศบาลตำบล มีที่ตั้ง อยู่ในเขตตำบล นั้น ๆ  ๒. เทศบาลอำเภอ มีที่ตั้งอยู่ในเขตตำบลที่เป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอ นั้น ๆ  ๓. เทศบาลจังหวัด มีที่ตั้งอยู่ในเขตตำบลที่เป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัด หรือเขตเทศบาลเมือง หรือเทศบาลนคร เดิม

             ๔. แบ่งระดับชั้น ขนาดของเทศบาลไว้ ๓ ระดับ  ดังนี้ ๑. เทศบาลตำบล มี ๓ ขนาด คือ ใหญ่  กลาง เล็ก    ๒.เทศบาลอำเภอ มี ๓  ขนาด คือ ใหญ่ กลาง เล็ก และ  ๓. เทศบาลจังหวัด มี ๓ ขนาด คือ ใหญ่ กลาง เล็ก  โดยแบ่งตาม จำนวนหมู่บ้าน พื้นที่ ประชากร พื้นที่เศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และแหล่งท่องเที่ยว ตามเกณฑ์ที่   คณะกรรมการฯ กำหนด




             ๕. อบจ. หรือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้เปลี่ยนอำนาจหน้าที่ จากเดิมให้บริการสาธารณะเหมือนท้องถิ่นอื่น เปลี่ยนใหม่ให้เป็นฝ่ายอำนวยการ โดยให้เปลี่ยนชื่อองค์กรใหม่ จัดตั้งเป็น สำนักงานท้องถิ่นจังหวัด.. มีหน้าที่ เป็นฝ่ายอำนวยการให้กับเทศบาล จัดตั้งแยกงบประมาณเป็นกองทุน จัดสวัสดิการ เงินเดือน ค่าตอบแทน ประโยชนตอบแทนอื่น การบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น กำกับดูแล ตรวจสอบ รับเรื่องร้องเรียน สอบสวนทางวินัย ฝึกอบรมให้ความรู้ ให้กับข้าราชการท้องถิ่น  ในจังหวัดนั้น ๆ  และจัดสรรงบประมาณให้กับ เทศบาลตำบล เทศบาลอำเภอ และเทศบาลจังหวัด  อย่างเป็นธรรมและเสมอภาค เป็นประจำทุกปี  โดยจัดให้มี หัวหน้าสำนักงานมาจากข้าราชการประจำ ( อาจมาจาก ปลัดเทศบาลที่มีคุณสมบัติผ่านการสอบคัดเลือกมาก็ได้) เรียกชื่อ ผู้อำนวยการท้องถิ่นจังหวัด.....ไม่มีฝ่ายการเมืองมาทำหน้าที่ ยกเลิกการเลือกตั้งในระดับนี้

              ๖. จัดให้มีการเลือกตั้งนายกเทศมนตรี ทุกระดับโดยตรง ให้เทศบาลตำบล มี รองนายกฯ ได้ ๑ คน เลขานายก ๑ คนเทศบาลอำเภอ มีรองนายก ๒ คน เลขานายก ๑ คน เทศบาลเมือง มีรองนายก ๓ คน เลขานายก ๑ คน เป็นผู้ช่วยเหลือการปฏิบัติงาน ให้นายกเทศมนตรี มีอัตราเงินเดือนอยู่ที่ขั้นสูงสุดของระดับซีหรือแท่งเงินเดือนของปลัดเทศบาลนั้น ๆ นายกเทศมนตรีอยู่ได้ ไม่เกิน ๒ วาระติดต่อกัน มีวาระละ ๔ ปี

             ๗.  สภาเทศบาลตำบล และ เทศบาลอำเภอ ให้มาจาก จำนวนผู้ใหญ่บ้าน ทุกหมู่บ้านในเขตตำบลนั้น ๆ เท่าที่มีอยู่เป็นสมาชิกสภาโดยตำแหน่ง สภาเทศบาลจังหวัด ให้ใช้หัวหน้าชุมชน เป็นสมาชิกสภาเทศบาล มีจำนวน ไม่เกิน ๓๖ คน หากจำนวนชุมชนเกินกว่า ๓๖ ชุมชน ให้เลือกกันเองให้เลือกไม่เกิน ๓๖ คน ตามขนาดของเทศบาลจังหวัด  โดยให้สมาชิกสภาเทศบาล ได้รับค่าตอบแทนรายเดือน แต่ไม่น้อยกว่าเงินเดือนขั้นต่ำระดับปริญญาตรี และมีเบี้ยประชุม เป็นรายครั้งที่มีการประชุม ตามระเบียบที่กำหนด

             ๘. จำนวนสมาชิกสภาเทศบาลตำบล ขนาดเล็ก มีจำนวน ไม่เกิน ๑๐ คน ขนาดกลาง ไม่เกิน ๑๒ คน ขนาดใหญ่    ไม่เกิน ๑๖ คน หากจำนวนหมู่บ้านมีเกินกว่าจำนวนสมาชิก จัดให้มีการจับฉลากออกเพื่อสับเปลี่ยนทุก ๆ ๒ ปี




             ๙. จำนวนสมาชิกสภาเทศบาลอำเภอ ขนาดเล็ก มีจำนวน ไม่เกิน ๑๒ คน ขนาดกลาง ไม่เกิน ๑๖ คน ขนาดใหญ่    ไม่เกิน ๑๘ คน หากจำนวนหมู่บ้านมีเกินกว่าจำนวนสมาชิก จัดให้มีการจับฉลากออกเพื่อสับเปลี่ยนทุก ๆ ๒ ปี

            ๑๐. จำนวนสมาชิกสภาเทศบาลจังหวัด ขนาดเล็ก มีจำนวน ไม่เกิน ๑๘ คน ขนาดกลาง ไม่เกิน ๒๔ คน ขนาดใหญ่   ไม่เกิน ๓๖ คน หากจำนวนชุมชนมีเกินกว่าจำนวนสมาชิก จัดให้มีการจับฉลากออกเพื่อสับเปลี่ยนทุก ๆ ๒ ปี

            ๑๑. อำนาจการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น ให้อยู่ในรูปคณะกรรมการ ๓ ฝ่าย คือ ๑ ผู้แทนส่วนราชการอื่นจำนวน   ๖ คน ผู้แทนผู้บริหารท้องถิ่น จำนวน ๖ คน ผู้แทนข้าราชการประจำ ๖ คน ผู้ทรงคุณวุฒิ ๖ คน มีวาระการตำรงตำแหน่ง คราวละ ๔ ปี โดยให้ คณะกรรมการคัดเลือก ผู้ทรงคุณวุฒิ ๑ คน ขึ้นเป็นประธาน มีวาระการตำรงตำแหน่ง ๒ ปี ให้มีการคัดเลือกใหม่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จะเป็นประธาน เกิน ๒ วาระติดต่อกัน ไม่ได้

              ๑๒. ไม่เห็นด้วย ที่จะไป เปลี่ยนให้ตำบล มี ผอ.เขต ให้บริหารงานเหมือนกับ กทม. เพราะบริบท พื้นที่แต่ละแห่งไม่เหมือนกัน พื้นที่ในเมืองหลวงมีความแตกต่างกับพื้นที่ชนบท โดยภาพรวม
วันนี้เอาแค่นี้ ก่อน เนื่องจากดึกแล้ว ข้อมูลนี้ ผมขอนำเสนอให้แกนนำ อปท.ไปพิจารณา ประชุมกันในวันพรุ่งนี้ ที่ เทศบาลนครรังสิต ผมไม่สามารถเดินทางเข้าร่วมประชุมด้วย  ใครมีข้อมูลดีๆ ด้านบวก ด้านลบ ก็วิเคราะห์ ข้อดีข้อเสีย นำเสนอแกนนำได้นะครับ โดยเสนอไปที่  ปลัดเชื้อ  ฮั่นจินดา ปลัดศักดิพงศ์  ธรรมอาชวกุล และปลัดวิจารณ์  กุณชนะรัตน์ ผู้แทนแกนนำ อบต./ เทศบาล/ และ อบจ. ซึ่งพวกเรารู้จักกันดี  ที่จะต้องรับฟังความคิดเห็นกับพวกเรา นำเสนอ คสช. เพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างท้องถิ่น ให้ดีขึ้น เป็นที่พึ่งของประชาชนต่อไป และคืนความสุขให้กับพี่น้องคนท้องถิ่นไทย ต่อไปครับ





                ข้อมูลจาก ปลัดทรงศักดิ์  โอษะคลัง  ปลัดอบต.โนนสะอาด อ.บ้านม่วง จ.สกลนคร ผู้แทน ก.อบต.จังหวัดสกลนคร และผู้แทน ก.อบต. ( ก.กลาง)




                ทีมข่าวการเมือง  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น