หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2561

สระบุรี งานสรงน้ำพระและแม่ย่าตะเคียน เสาร้องไห้ ปีที่ 60 นงานสงกรานต์ประจำปีของวัดสูง



               วันที่  23  เมษายน ณ. วัดสูง  อ. เสาไห้  จ.สระบุรี  ก็ คราคล่ำไปด้วยพี่น้องประชาชนที่ต่างพร้อมใจกันมาร่วมงานกันอย่างมากมาก  รวมนักท่องเที่ยวที่ไปร่วมพิธีตลอดทั้งวัน ที่วัดสูงใน อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี เป็นเป็นสถานที่ประดิษฐานสำคัญคือเสาแม่ย่าตะเคียน และพระศรีพุทธมงคลมุณี หรือหลวงพ่อองค์ดำ  ที่ชาวอำเภอเสาไห้ให้ความเคารพศรัทธา   ปีนี้บรรยากาศในกลางวันจะร้อนอบอ้าวบ้างแต่ก็ไม่มากเหมือนทุกปี เนื่องจากอยู่ในช่วงเกิดฝนตกพรำมาตลอดช่วงคืนที่ผ่านมา จึงทำให้บรรยากาศในพิธีสรงน้ำพระและอาบน้ำหรือรดน้ำแม่ย่าตะเคียนของชาววัดสูง อ.เสาไห้ ซึ่ง 1 ปี มีเพียงครั้งเดียวซึ่งปีนี้เป็นปีที่ 60 ที่นำแม่ตะเคียนหรือเสาร้องไห้ขึ้นมาจากแม่น้ำ นอกจาก มีความสนุกสนานจากการแสดงวัฒนธรรมของพื้นบ้านไทยวนทำให้ภาพประทับใจนี้ได้ถูกถ่ายทอดผ่านความรู้สึกและอารมณ์ของที่อยู่ในงานได้เป็นอย่างดี ซึ่งพิธีเปิดงาน  โดยมี นายบัณฑิตย์  เทวีทิวารักษ์  ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี เดินทางไปเป็นประธานในพีธีเปิดงานสรงน้ำพระและรดน้ำหรืออาบน้ำแม่ย่าตะเคียน  มี นายเกียรติศักดิ์  ตรงศิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี นายสิงหราช  วงษ์เสงี่ยม นายอำเภอเสาไห้ ให้การต้อนรับ






                 งานสรงน้ำพระวัดสูง ในเทศกาลสงกรานต์ ดูเหมือนจะเป็นการจัดงานประเพณีสงกรานต์ที่ผู้คนได้กล่าวขานถึงมาตลอดเวลา ใน เดือนเมษายนของทุกปี ซึ่งก็เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไป แม้ในสมัยก่อนจะเป็นเพียงงานชุมชนเล็ก ๆ  ในเขตอำเภอเสาไห้ แต่ต่อมาได้มีการส่งเสริมสนับสนุนจากจังหวัด หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จนทำให้งานสรงน้ำพระวัดสูงที่เสาไห้แห่งนี้ดูจะกลายเป็นงานที่น่าสนใจและผู้คนอยากไปร่วมงานทุกปี  พิธีกรรมและประเพณีปฏิบัติที่สืบทอดกันมาและเป็นประจำเมื่อถึงวันสรงน้ำพระวัดสูง  ก็คือผู้ที่ไปร่วมงานจะได้มีโอกาสสรงน้ำหรืออาบน้ำหุ่นรูปปั่นแม่ย่าตะเคียน เสาตะเคียน และกราบสักการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่ในบริเวณวัดสูงแห่งนี้ เช่น พระศรีพุทธมงคลมุณี หรือหลวงพ่อองค์ดำ  ที่ชาวอำเภอเสาไห้ให้ความเคารพศรัทธา





               ตำนานเสาร้องไห้ เป็นตำนานของเจ้าแม่ตะเคียนทองที่ตั้งอยู่ในศาลนางตะเคียนทอง  ณ วัดสูง ตำบลเสาไห้ ห่างจากที่ว่าการอำเภอเสาไห้ประมาณ  500 เมตร เป็นเสาไม้ตะเคียนขนาดใหญ่ ตำนานเล่ากันว่า  เมื่อครั้งสร้างกรุงเทพฯ เป็นราชธานี ได้มีการประกาศเกณฑ์เสาไม้จากหัวเมืองต่าง ๆ   เพื่อที่จะคัดเลือกเสาที่มีลักษณะงดงามนำมาเป็นเสาเอก ซึ่งทางเมืองสระบุรีได้จัดส่งเสาตะเคียนที่มีลักษณะงดงาม  ล่องลงมาตามลำน้ำป่าสักและเมื่อเสาตะเคียนดังกล่าวล่องมาถึงกรุงเทพฯ  แต่ก็ช้าไปได้มีการคัดเลือกเสาเอกไปก่อนแล้ว   เสาต้นนี้จึงเกิดความเสียใจลอยทวนน้ำกลับขึ้นมาจมลง ณ ตำบลแห่งนี้อยู่ประมาณ 100 กว่าปีที่ผ่านมา และเกิดเป็นตำนานเรื่องเล่าขาน รวมไปถึงประวัติ ความเป็นมา จนเป็นชื่ออำเภอเสาไห้ ของจังหวัดสระบุรีในปัจจุบัน





             ทั้งนี้เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2501 เป็นวันที่ได้ประกอบพิธีเชิญเสาตะเคียนขึ้นจากแม่น้ำป่าสักหลังมีชาวบ้านฝันเห็นหญิงสาวร้องไห้ในแม่น้ำ  จึงได้มีการใช้เชือกดึงแต่ไม่ประสบความสำเร็จแม้จะใช้กำลังคนจำนวนมาก จากนั้นได้มีประกอบพิธีตั้งศาลสูงเพียงตา มีหัวหมูซ้ายขวา บายศรี 3 ชั้น ใช้ด้ายสายสิญจน์ผูกที่เสาแล้วให้ผู้มาร่วมพิธีได้ดึงสายสิญจน์ที่ผูกโยง จากนั้นพระสงค์ 9 รูปเจริญชัยมงคลคาถา และประสบความสำเร็จสามารถนำเสาตะเคียนขึ้นจากแม่น้ำป่าสักได้ และอัญเชิญไปไว้ที่วัดสูง  อยู่ ณ ปัจจุบันนี้  และทุกปีจะมีการประกอบพิธีอาบน้ำหรือรดน้ำรูปปั้นแม่ย่าตะเคียน รดน้ำเสาตะเคียน ผู้คนจะเดินทางมากราบสักการะขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ประสบความสำเร็จในด้านต่าง ๆ  บางคนได้นำชุดไทย สไบ เครื่องแป้ง น้ำอบน้ำหอม รวมทั้งของเครื่องเซ่นต่าง ๆ มาถวายด้วยเช่นกัน ขณะที่งานประเพณีสงกรานต์วัดสูงหรือสรงน้ำพระวัดสูง ปัจจุบันยังคงรักษาเป็นเอกลักษณ์ประเพณีปฏิบัติเรื่อยมา จนถึงปัจจุบัน/







(คนธรรมดา  ม้าตัวเดียว)  บรรณาธิการข่าว 
เรวัติ  น้อยวิจิตร  Hub Admin rewat.noyvijit@hotmail.com  081-9107445

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น