หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

การฝังเข็ม รักษาโรคอะไรได้บ้าง ?


           พจ.สุกิจ นราธนากร แพทย์จีนผู้เชี่ยวชาญ ด้านการฝังเข็ม จากมหาวิทยาลัยเซี่ยเหมิน ประเทศจีน เปิดเผยว่า ..  เป็นเรื่องมหัศจรรย์มาก ที่คนไข้หลายต่อหลายคน เมื่อได้มารับการรักษา ด้วยการแพทย์แผนจีนโบราณ ที่โรงพยาบาลศุภมิตร จ.สุพรรณบุรี  หรือ ที่คลินิก ที่กรุงเทพฯ ต่างก็บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ได้ผลดีมาก ..

           วันเวลาทำการ 
       
     วันอังคาร - วันพฤหัสบดี เวลา 09.00-20.00 น. วันศุกร์ 09.00-12.00 น.
     โทร  035-523777 ต่อ 4107  กรุณาโทรนัดล่วงหน้า

            泰国女患者คุณชญาภา 46岁 脖子不能转动僵硬痛两天、常头疼,因工作繁忙压力大,用五行调气针后 ,捻针后脖子能上下左右一点,让病人留针40分钟脖子僵硬痛明显减轻。คุณชญาภา ปวดต้นคอมา2วัน ก่อนฝังเข็มแนวใหม่ ขยับไม่ได้เลย ปวดตึงมาก หลังกระตุ้นเข็ม นอนพัก40นาที กลับมาขยับขึ้นลง หันซ้ายขวาได้





             泰国女患者 55岁 右膝盖疼痛两脚紧一周,因去国外旅行有膝盖疼痛病史,vas=8-9   用五行调气针后 vas=0 疼痛明显减轻,捻针后走路顺利病人笑的很开心,让病人留针半个小时。คุณสมหมาย ไปเที่ยวต่างประเทศมาอาทิตย์ที่แล้วเดินเยอะ ปวดเข่าขวา เอ็นขาสองข้างยึดตึง ก่อนฝังเข็มให้คะแนนปวดที่8-9/10 หลังฝังเข็มแนวใหม่ กระตุ้นเข็มประมาณสองนาที ลองให้บริหารเข่า อาการปวดคลาย ยึดตึงไม่มี ให้ลองเดินไม่ปวดไม่ตึง








          คุณนงค์นิตย์ ร้อนในบ่อย ไปทานกุยไช่ทอดมา มือขวาขึ้นผื่นบวมแดง ร้อนคันและเจ็บมาก เมื่อคืน 3/02 ใช้การฝังเข็มแนวใหม่ไป ค้างเข็มไว้หลายชั่วโมง เช้าถ่ายออกเยอะ กลางวัน อาการบวมแดง ร้อนเจ็บ คัน ลดลงมาก เกือบเป็นปกติ    泰国女患者 60岁 吃油炸食物因體質阴虚,有了湿疹红肿痛,局部痒难忍,前天晚上用五行调气针留针整个晚上 , 早上大号很多,中午肿痛明显减轻无痒痒.




              五行調氣針法                                                
      เทคนิคพิเศษ  การใช้เข็มปรับชีพจร                               

       การฝังเข็มปรับชีพจร คืออะไร

        การฝังเข็มปรับชีพจร เป็นการรักษาที่เป็น เอกลักษณ์การฝังเข็มของแพทย์จีนโบราณ โดยยึดถือนิยาม ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยอวัยวะพลังและเลือดเป็นองค์ประกอบพื้นฐาน           ของร่างกาย เมื่อร่างกายเกิดโรคย่อมมีผลมา จากอวัยวะพลังและเลือดมีความไม่สมดุลและ เกิดความผิดปกติ 
พลังคืออนุภาคที่เคลื่อนไหวไม่หยดุนิ่ง ภายใน ร่างกายมีหน้าที่ให้อวัยวะภายในร่างกาย ทำงานได้อย่างเป็นปกติ 

         พลังสามารถสร้างเลือดและสารจำเป็นต่างๆที่ มนุษยจำเป็นต้องใช้ใ้นการดำรงชีพดังนั้น พลังหรือชี่(气)จึงเป็นเป็นภูมิต้านทานโรคสามารถรักษาโรค และฟื้นฟูสมรรถภาพ ของร่างกายได้ ชีพจรพลังหรือชี่(气)จะถูกแสดงออก ผ่านตำแหน่งข้อมือซ้ายและขวาเมื่อผ่านการ ตรวจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการอบรม แพทย์เลือกจุดการรักษาให้กับผู้ป่วยได้ อย่างแม่นยำและเกิดประสิทธิภาพในการรักษาสูงสุด    



            
                           

       ข้อดีของการฝังเข็มปรับชีพจร 

1.สามารถรักษาโรคได้หลากหลาย อาทิ โรคปวดเฉียบพลันหรือเรื้อรัง โรคอายรุกรรม ต่างๆ โรคสูตินรีเวช กุมราเวช และการฟื้นฟู ร่างกายของผู้ป่วยเป็นต้น

2.ได้ผลการรักษาท่ีรวดเร็ว ทำให้ประหยัดเวลาในการรักษาและลดความทรมานจากอาการต่างๆของผู้ป่วย

3.ไม่มีอาการข้างเคียงจาการรักษาและเจ็บน้อย กว่าการฝังเข็มทั่วไป เนื่องจากเป็นการรักษาที่ ใช้เข็มบางเล็ก เท่าขนาดของเส้นผมและใช้เข็ม น้อยแพทย์ที่ผ่านการรอบรมจะตรวจเลือกจุดที่ เหมาะสมและจำเป็นที่สุดสำหรับผู้ป่วยในการ รักษา

4.เป็นการรักษาที่สามารถฟื้นฟูปรับสมดุลพลังและการทำงานของอวัยวะในขณะรักษาโรคได้ เนื่องจากเป็นการรักษาโดยการปรับพลัง ทั่วร่างกาย ดังนั้นในขณะทาการรักษาจะสามารถ ร่วมปรับความผิดปกติของพลังและการทำงาน ของอวัยวะได้ใ้นเวลาเดียวกัน

5.ปลอดภัยในการรักษาเนื่องจากแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญที่ทำการรักษาจะต้องไดัรับการ อบรมและผ่านการประเมินจากเจ้าของ หลักสูตรเนื่องจากเป็นหลักสูตรลิขสิทธ์ิของ แพทย์จีนLIBAOWUอาจารย์แพทย์จีน ผู้เช่ียวชาญด้านการฝังเข็มโรงพยาบาลฉาง เจียง เมืองเทียนจิน ประเทศสาธารณรัฐ ประชาชนจีน                     

#ฝังเข็ม #ครอบกระปุก#สมุนไพรจีน ศูนย์สุขภาพ โรงพยาบาลศุภมิตร สุพรรณบุรี 
    แพทย์จีน สุกิจ นราธนากร ผู้เชียวชาญการใช้เข็มปรับชีพจร และเข็มผิวศรีษะ  
***สอบถามเพิ่มเติม 035-523-777ต่อ 4107

การฝังเข็มรักษาโรคอะไรได้บ้าง ?

           การฝังเข็มไม่เพียงแต่ จะช่วยทำให้หลอดเลือดบริเวณที่ปักเข็มขยายตัวเท่านั้น แต่หลอดเลือดฝอยทั่วร่างกายก็จะมีการขยายตัวอย่างเหมาะสมอีกด้วย ทำให้เนื้อเยื่อทั่งร่างกายได้รับสารอาหารและขจัดของเสียที่คั่งค้างได้ดีกว่า
           การฝังเข็มยังสามารถออกฤทธิ์กระตุ้นเพื่อปรับการทำงานของอวัยวะอื่น ๆ ที่อยู่ห่างไกลออกไปจากจุดฝังเข็มได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น
           เมื่อปักเข็มกระตุ้นจุด "เน่ยกวาน" บนเส้นลมปราณเยื่อหัวหัวใจที่อยู่บริเวณข้อมือ สามารถปรับการเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะ สามารถทำให้หลอดเลือดหัวใจขยายตัวได้
           เมื่อปักเข็มกระตุ้นจุด "จู๋ซานหลี่" ของเส้นลมปราณกระเพาะอาการที่อยู่บริเวณหน้าแข็ง สามารถกระตุ้นทำให้กระเพาะอาการที่หดเกร็ง มีการคลายตัวและบีบตัวเป็นจังหวะดีขึ้น สามารถปรับการหลั่งของกรดในผู้ป่วยที่มีภาวะกรดกระเพาะอาการมากเกินไป ให้ลดน้อยลงสู่สภาพปกติได้
           เมื่อใช้การรมยากระตุ้นจุด "จื้อยิน" ที่บริเวณนิ้วก้อยของเท้า พบว่า สามารถกระตุ้นกล้ามเนื้อมดลูกของสตรีที่ตั้งครรภ์ ให้หดตัวเป็นจังหวะสม่ำเสมอ ทำให้ทารกในครรภ์มีการหมุนเคลื่อนตัว จึงสามารถใช้วิธีการนี้มารักษาภาวะทารกในครรภ์อยู่ผิดท่าได้
           ตัวอย่างเหล่านี้ เป็นเรื่องที่เหลือเชื่อ สำหรับการแพทย์แผนปัจจุบัน เพราะไม่สามารถอธิบายกลไกการเกิดปรากฏการณ์เหล่านี้ได้จากความรู้ทางการแพทย์ที่มีอยู่แต่เดิม อย่างไรก็ตาม ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ระบบประสาทและการค้นคว้าในด้านการฝังเข็มพบว่า
           การกระตุ้นเส้นประสาทส่วนปลาย (peripheral nerve) ด้วยการฝังเข็ม สามารถก่อให้เกิดสัญญาณประสาทเข้าสู่ก้านสมองและสมอง และมีทางเดินประสาท (pathway) เชื่อมโยงไปยังศูนย์เซลประสาท (neuron center) ซึ่งส่วนใหญ่จะกระจายอยู่บริเวณก้านสมองและฮัยโปธาลามัส แล้วมีสัญญาณประสาทส่งกลับไปควบคุมการทำงานของอวัยวะระบบต่าง ๆ โดยผ่านระบบประสาทอัตโนมัติที่ไปยังอวัยวะนั้น ๆ
           การฝังเข็มยังสามารถกระตุ้นสมอง ให้มีการหลั่งสารสื่อสัญญาณประสาท (neurotransmitters) ออกมาหลายชนิด ที่สำคัญคือ เอนดอร์ฟิน (ndorphins) สารตัวนี้มีฤทธิ์ระงับปวดที่แรงมาก ประมาณว่ามันแรงมากกว่ายามอร์ฟีนถึง 1,000 เท่า การฝังเข็มจึงมีฤทธิ์ในการลดความเจ็บปวดให้แก่ร่างกายได้อีกด้วย
           นอกจากนี้ การฝังเข็มยังสามารถกระตุ้นให้ร่างกายมีการหลั่งสารฮอร์โมนที่สำคัญออกมาด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ACTH และฮอร์โมนคอร์ติโคสเตียรอยด์ ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีฤทธิ์กว้างขวางมาก เช่น การลดการอักเสบของเนื้อเยื่อ กระตุ้นการปลดปล่อยพลังงานภายในร่างกาย เป็นต้น
           ฤทธิ์ในการปรับควบคุมการทำงานของอวัยวะระบบต่าง ๆ ด้วยการฝังเข็มนั้น มีลักาณะพิเศษที่เรียกว่า "ทวิภาพ" (Biphasic effect)
           หมายความว่า การฝังเข็ม ณ จุดเดียวกันสามารถปรากฏผลออกมาได้ 2 แบบ คือ อาจ "กระตุ้น" ให้อวัยวะทำงานเพิ่มขึ้น หรืออาจ "ยับยั้ง" ให้อวัยวะทำงานลดลงก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพวะของอวัวะหรือร่างกายของ ผู้ป่วยในขณะนั้นด้วย
           กล่าวคือ ถ้าอวัยวะหรือระบบนั้น ๆ อยู่ในสภาวะที่ทำงานน้อยเกินไป (hypofunction) การฝังเข็มจะออกฤทธิ์ "กระตุ้น" ให้มันทำงานเพิ่มขึ้นมาสู่ระดับปกติ (normofunction)
           ในทางตรงกันข้าม ถ้าวอวัยวะหรือระบบนั้น ๆ อยู่ในสภาวะที่ทำงานมากเกินไป (hyperfunction) การฝังเข็มกลับจะออกฤทธิ์ "ยับยั้ง" ทำให้มันทำงานลดน้อยลงไปสู่ระดับปกติ
           ตัวอย่างเช่น ถ้าหัวใจมีอัตราการเต้นเร็วกว่าปกติ เช่น เร็วเกินกว่า 100 ครั้งต่อนาที การฝังเข็มสามารถจะยับยั้งให้มันเต้นช้าลงมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ ประมาณ 60-100 ครั้งต่อนาที ตรงกันข้าม ถ้าหัวใจเต้นช้า เช่น น้อยกว่า 40 ครั้งต่อนาที เมื่อฝังเข็มก็จะสามารถกระตุ้นให้มันเต้นเร็วขึ้นมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ


  ข้อมูล จาก .. สมาคมแพทย์ฝังเข็ม และสมุนไพร ยังพบว่า ..

               การผังเข็มจะกระตุ้นให้เกิดสัญญาณประสาท ส่งเข้าไปยังไขสันหลังแล้วออกวกออกมา ทำให้กล้ามเนื้อที่หดเกร็งเกิดการคลายตัว และหลอดเลือดที่หดตัวเกิดการขยายตัว สัญญาณประสาทบางส่วนจะถูกส่งขึ้นไปยังสมองกระตุ้นให้มีการหลั่งสารสื่อสัญญาณประสาท เช่น เอนดอร์ฟินและฮอร์โมนต่าง ๆ แล้วส่งสัญญาณประสาทกลับลงมาตามไขสันหลังและเส้นประสาท เพื่อช่วยปรับการทำงานของอวัยวะระบบต่าง ๆ และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้สมดุลเป็นปกติ
           จะเห็นว่า กลไกในการรักษาโรคด้วยการฝังเข็มนั้น มิใช่เป็นกลไกที่ง่าย ๆ แต่ค่อนข้างสลับซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับทุกระบบของร่างกาย
           โดยสรุปแล้ว จากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์การแพทย์เท่าที่มีอยู่ในขณะนี้ การฝังเข็มสามารถรักษาโรคโดยอาศัยกลไกสำคัญ ดังต่อไปนี้
           1. ปรับการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพสมดุลปกติ
           2. ยับยั้งการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
           3. ปรับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
           4. ทำให้กล้ามเนื้อที่หดเกร็งมีการคลายตัว
           5. กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดทั้งบริเวณเฉพาะที่และทั่วร่างกาย
           อย่างไรก็ตาม การฝังเข็มมิใช่ "เข็มวิเศษ" ที่สามารถรักษาโรคได้ทุกโรค มันมีข้อจำกัดอยู่เหมือนกัน
           ถ้าเป็นโรคที่มีพยาธิสภาพของอวัยวะเสียหายรุนแรง เป็นเรื้อรังมานาน ผู้สูงอายุวัยชราที่อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายเสื่อมสภาพมาก ไม่ว่าจะฝังเข็มกระตุ้นอย่างไร ร่างกายก็อาจจะไม่ตอบสนอง การรักษาก็อาจจะไม่ได้ผลดีตามที่คาดคิดเอาไว้ก็ได้ ซึ่งตัวอย่างผู้ป่วยทำนองนี้ก็มีให้เห็นอยู่เสมอ



  พจ.สุกิจ นราธนากร 
แพทย์จีนผู้เชี่ยวชาญ ด้านการฝังเข็ม จากมหาวิทยาลัยเซี่ยเหมิน ประเทศจีน

      วันเวลาทำการ 
       
     วันอังคาร - วันพฤหัสบดี เวลา 09.00-20.00 น. วันศุกร์ 09.00-12.00 น.
     โทร  035-523777 ต่อ 4107  กรุณาโทรนัดล่วงหน้า

ศูนย์ข่าวท้องถิ่นออนไลน์  รายงาน
เรวัติ  น้อยวิจิตร  Hub Admin rewat.noyvijit@hotmail.com  081-9107445

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น