หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ไทยเบฟร่วมกับโรงงานน้ำตาลสุพรรณบุรี ร่วมสร้างชุมชนดีมีรอยยิ้ม ปีที่ 6




            ไทยเบฟร่วมกับโรงงานน้ำตาลสุพรรณบุรี ร่วมสร้างชุมชนดีมีรอยยิ้ม ปีที่ 6  ผ่านกีฬา ดนตรี และศิลปะ ที่ สามชุกรัตนโภคาราม  สุพรรณบุรี










             ที่หอประชุมโรงเรียนสามชุกรัตนโภคาราม  อ.สามขุก จ.สุพรรณบุรี  นายพิภพ  บุญธรรม  รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี  เป็นประธานเปิดงานไทยเบฟร่วมกับโรงงานน้ำตาลสุพรรณบุรี ร่วมสร้างชุมชนดีมีรอยยิ้ม ปีที่ 6  พร้อมกล่าวว่า เด็กและเยาวชน คือพลังที่สำคัญของประเทศ  ดังนั้นการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนรู้จักให้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุด   ซึ่งการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ไทยเบฟเติมเต็มทักษะรอบด้านให้กับเยาวชนที่อยู่ห่างไกล ไม่ว่าจะเป็นกีฬาฟุตบอล การขับร้อง การเล่นดนตรี และหัตถกรรมศิลปะ กิจกรรมเหล่านี้จะช่วยขัดเกลาจิตใจ และเสริมสร้างความเข้มแข็งทางร่างกาย พร้อมทั้งจุดประกายความสามารถที่พวกเขามีอยู่ในตัวเอง ทางเราก็ได้เพิ่มศักยภาพให้กับพวกเขา รวมถึงเผยแพร่องค์ความรู้ในการสร้างอาชีพได้ในอนาคต   เชื่อว่าวันนี้จะเป็นวันที่ทุกคนจะได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ต่างๆไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีโอกาสก้าวหน้าและเติบโตเป็นนักกีฬาทีมชาติ หรือนักร้องอาชีพ ซึ่งจะเป็นการสร้างสร้างอาชีพ สร้างรายได้ที่มั่นคงแก่ครอบครัว







              ด้านนางธารทิพย์ ศิรินุพงษ์ ผู้อำนวยการโครงการพัฒนาชุมชน บริษัท ไทยเบฟ เวอเรจ จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและพนักงาน กล่าวรายงานว่า บริษัท ไทยเบฟ ฯ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่โครงการของบริษัท ไทยเบฟฯ เดินหน้ามาเป็นปีที่ 6 ได้นำคาราวานแห่งรอยยิ้ม มามอบให้กับเด็กๆ และเยาวชนในจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งประกอบไปด้วยกิจกรรม การฝึกสอนทักษะและเทคนิคการเล่นฟุตบอล จากสต๊าฟโค้ช และนักกีฬาฟุตบอล อีกทั้งยังได้วิทยากรมืออาชีพจากมูลนิธิ อาจารย์สุกรี เจริญสุข มาช่วยพัฒนาทักษะด้านการร้องเพลง โดยเน้นเพลงที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น เพลงชาติ เพลงสรรเสริญพระบารมี และทักษะด้านดนตรี ให้สามารถเล่นดนตรีที่ถูกต้องตามมาตรฐานสากล และเฟ้นหาเยาวชนที่มีศักยภาพด้านดนตรี มาเติมเต็มความรู้ และทักษะเพื่อพัฒนาไปสู่นักดนตรีอาชีพได้








             และทางบริษัท ฯ ยังได้แนะนำให้นักเรียนและเยาวชน สร้างรายได้จากสิ่งของเหลือใช้ กับกิจกรรมเวิค ช๊อป ประดิษฐ์ที่ใส่กระดาษทิชชู่ จากขวดน้ำดื่มช้าง ซึ่งนอกจากจะนำวัสดุเหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นสิ่งของ ที่สามารถต่อยอดสร้างรายได้แล้ว ยังเป็นการกระตุ้นการสร้างจิตสำนึก ด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม อีกด้วย ส่วนมหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี ได้มาช่วยฝึกสอนการร้อยมาลัยจากดอกมะลิ ซึ่งเป็นดอกไม้ที่มีในพื้นที่อำเภอสามชุก เพื่อให้เป็นหนึ่งทางเลือก ในการพัฒนาทักษะ และนำไปสู่การสร้างรายได้แก่ครอบครัวและชุมชนต่อไป





เกรียงไกร  ก่อเกียรติตระกูล  บรรณาธิการข่าว        
เรวัติ  น้อยวิจิตร  Hub Admin rewat.noyvijit@hotmail.com  081-9107445

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น