ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ขานรับนโยบายรัฐบาล เดินหน้าจัดอบรมโครงการประกันภัยพืชผล ครั้งที่ 2 ที่จังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปี 2559 มี นายพิภพ บุญธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี พร้อมด้วย นายมนตรี สุดจิตต์ ผู้อำนวยการ คปภ.จังหวัดสุพรรณบุรี ให้การต้อนรับ
วันที่ 20 เมษายน 2559 เวลา 08.30 น. ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) พร้อมด้วย นายจรัญ สอนสวัสดิ์ ผู้ช่วยเลขาธิการสายส่งเสริม สำนักงาน คปภ.และ สมาคมประกันวินาศภัยไทย โดย นายอานนท์ วังวสุ นายกสมาคมฯ ขานรับนโยบายรัฐบาล เดินหน้าจัดอบรมโครงการประกันภัยพืชผล ครั้งที่ 2 ที่จังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปี 2559 มี นายพิภพ บุญธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี พร้อมด้วย นายมนตรี สุดจิตต์ ผู้อำนวยการ คปภ.จังหวัดสุพรรณบุรี นายเอกภพ จันทร์เพ็ญ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสุพรรณบุรี ผู้แทนกรมส่งเสริมการเกษตร ผู้แทนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ตลอดจน ผู้นำท้องถิ่น ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้าร่วมกว่า 150 ท่าน
งานเริ่มขึ้น ในเวลา 09.00 น. โดยนายพิภพ บุญธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี กล่าวต้อนรับ ในฐานะ เจ้าบ้าน พร้อมให้ข้อมูล เชิงลึกถึง วิถีชีวิตของเกษตรกร ในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งมียุทธศาสตร์ สำคัญ ในเรื่องการเกษตร และ เป็นแหล่งผลิตอาหารคุณภาพสู่ครัวโลก ..ท่านบอก .. พื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี ในปีนี้ แม้จากประสบปัญหาภัยแล้งอยากมากมาย ก็ตาม แต่ทางจังหวัดก็ได้มีการเตรียม การแก้ไขปัญหาเอาไว้แล้วโดยได้มีการก่อสร้าง โครงการแก้มลิง ตามแนวพระราชดำริฯ บนพื้นที่สาธารณะประโยชน์ ขนาดใหญ่ ไว้ถึง 5 จุดๆละกว่า 1000 ไร่ ในขณะนี้ จึงสามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้แก้ไขปัญหาภัยแล้ง ไว้ได้บางส่วน ซึ่งก็เป็นการต่อยอด บูรณาการการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในอดีตที่ผ่านมา คือเมื่อน้ำท่วม แก้มลิงก็จะเป็นพื้นที่ รองรับน้ำ กักเก็บน้ำแหล่งใหญ่ พอหน้าแล้ง น้ำในแก้มลิงก็สามารถนำมา ช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาภัยแล้ง ได้อีกด้านหนึ่ง ท่านยังบอกอีกว่า จังหวัดสุพรรณบุรี ทำนากันอย่างต่อเนื่อง ใน 2 ปีสามารถทำนาได้ถึง 7 ครั้ง สำหรับพื้นที่ที่สามารถ บูรณาการการผันน้ำไปใช้ได้อย่างเพียงพอ และ สำหรับน้ำเพิื่อการบริโภค ทางการประปาส่วนภูมิภาคก็มีแผนในการบริหารจัดการน้ำ การกักเก็บ น้ำไว้เพื่อการผลิตน้ำประปา อย่างเพียงพอ เช่นกัน จึงมั่นใจได้ว่า เราจะไม่ขาดน้ำ เพื่อการบริโภค
ต่อจากนั้น เป็นพิธีเปิดงาน โดย ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) มี นายจรัญ สอนสวัสดิ์ ผู้ช่วยเลขาธิการสายส่งเสริม สำนักงาน คปภ. เป็นผู้กล่าวรายงาน ถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงาน ในครั้งนี้ ซึ่ง ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้กล่าวถึง โครงการนี้ว่า สำนักงาน คปภ. ได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการส่งเสริมความรู้ และสิทธิประโยชน์ด้านการประกันภัย กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) โดยนายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการ เพื่อบูรณาการความร่วมมือในการยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร เสริมสร้างให้เกษตรกร องค์กรภาคการเกษตร ลูกค้าและเจ้าหน้าที่ธ.ก.ส. และประชาชนทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ การประกันภัยและสิทธิประโยชน์จากกรมธรรม์ประกันภัยในฐานะผู้บริโภค ตลอดจนตระหนักถึงคุณค่าและคุณประโยชน์ ของการสร้างหลักประกันความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สินให้กับตนเองและครอบครัว โดยใช้ระบบประกันภัยเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยง อันเป็นการส่งเสริมให้มีระบบภูมิคุ้มกันภาคครัวเรือน
สำหรับคณะทำงาน ในเรื่องนี้ แบ่งเป็น 3 คณะใหญ่ ได้แก่ คณะกรรมการ ด้านนโบาย ประกอบด้วย รองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ เป็นประธาน รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย ปลัดกระทรวง การคลัง ปลัดกระทรวงเกษตรฯ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ฯลฯ เป็นคณะกรรมการ เพื่อจะได้พร้อมในด้านการบูรณาการ การทำงาน และ การสั่งการลงพื้นที่
สำหรับคณะทำงาน ส่วนที่ 2 เป็นคณะอนุกรรมการ เพื่อขับเคลื่อนนโยบาย ในด้านการปฏิบัติงาน มีท่านพจนีย์ ธนวรานิช อดีตอธิบดีกรมการประกันภัย เป็น ประธานฯ มีผม ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เป็นรองประธานฯ และมีคณะทำงานฝ่ายต่างๆ ครบทีม สำหรับ ส่วนที่ 3 เป็นคณะทำงานในระดับพื้นที่ มี ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน มี ผอ.คปภ.จังหวัดฯ เกษตรจังหวัด พัฒนาการจังหวัด ปภ.จังหวัด ปลัดจังหวัด และ ผู้อำนวยการ ธกส. ในพื้นที่ เป็น คณะทำงาน ซึ่งเชื่อมั่นว่าจะสามารถขับเคลื่อน นโยบาย เพื่อแก้ไขปัญหา ใน 3 ด้านของเกษตรกร ได้แก่ น้ำท่วม ภัยแล้ง และ แมลงศัตรูพืช ได้จากโครงการประกันภัยพืชผล นี้ได้อย่างเบ็ดเสร็จ
เลขาธิการ คปภ. กล่าวเสริมว่า สำนักงาน คปภ. จะร่วมกับ ธ.ก.ส. ส่งเสริมความรู้ และสิทธิประโยชน์ด้านการประกันภัย ด้านการเงิน ให้คำปรึกษาแนะนำข้อมูล ข้อกฎหมาย รวมถึงการประกันภัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) การประกันชีวิต การประกันวินาศภัย ให้กับพนักงานทั้งสองหน่วยงานทั่วประเทศ รวมถึงร่วมกันดำเนินการตามนโยบายภาครัฐด้านการประกันภัย และจัดกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมให้เกษตรกร และลูกค้าธนาคารเข้าถึงระบบประกันภัยได้อย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น และร่วมกันขับ เคลื่อน ภารกิจที่เป็นประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย
“รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในเรื่องของการปฏิรูปการประกันภัยพืชผลเพื่อสร้างความมั่นคงในชีวิตและยกระดับรายได้ของเกษตรกรโดยเห็นได้จากคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ ได้มีมติแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการปฏิรูปการประกันภัยพืชผล โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงาน คปภ. ธ.ก.ส. กรมส่งเสริมการเกษตร สมาคมประกันวินาศภัยไทย เป็นต้น เพื่อร่วมกันจัดทำแนวทาง วิธีการปฏิรูป พร้อมกำหนดระยะเวลา เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนการปฏิรูปการประกันภัยพืชผลให้เป็นเอกภาพและแล้วเสร็จอย่างเป็นรูปธรรม โดยสำนักงาน คปภ. ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการปฏิรูปการประกันภัยพืชผล ให้จัดทำโครงการอบรมความรู้ประกันภัย (Training for the trainers) ดังนั้น การทำ MOU ร่วมกันในวันนี้จะมีส่วนสนับสนุนให้การดำเนินการต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น ซึ่งทั้งสองหน่วยงานจะได้ร่วมกันในการส่งเสริมความรู้และ สิทธิประโยชน์ด้านการประกันภัยแก่เกษตรกร เพื่อช่วยในการรองรับโครงการประกันภัยพืชผลที่คณะทำงานขับเคลื่อนจะได้นำเสนอรัฐบาล ผลักดันให้การประกันภัยพืชผลเป็นวาระแห่งชาติต่อไป” ดร.สุทธิพล กล่าว
ทั้งนี้ในเดือน มีนาคม - สิงหาคม 2559 สำนักงาน คปภ. ได้กำหนดจัดโครงการอบรมความรู้ด้านการประกันภัย (Training for the trainers) ให้กับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ พนักงาน ธ.ก.ส. เจ้าหน้าที่จากกรมส่งเสริมการเกษตร เจ้าหน้าที่จากกรมพัฒนาชุมชน เจ้าหน้าที่จากกรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ผู้ที่ได้รับการอบรมนำความรู้ความเข้าใจในหลักการประกันภัย ความคุ้มครอง เงื่อนไข และสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับของกรมธรรม์ประกันภัย รวมถึง หลักการปฏิบัติและสาระสำคัญของกรมธรรม์ประกันภัยข้าวนาปี ไปถ่ายทอดให้กับเกษตรกร โดย โครงการอบรมฯจะเริ่มเปิดตัวครั้งแรกในวันที่ 21 มีนาคมนี้ ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ 20 เมษายน ที่จังหวัดสุพรรณบุรี และยังเดินสายไปยังอีก 6 จังหวัดทั่วทุกภาค
เรวัติ น้อยวิจิตร นสพ.พลังชน และ Hub Admin ศูนย์ข่าวท้องถิ่นออนไลน์ รายงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น